Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2558 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2558 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/605
|
Title: | การปรับปรุงคุณภาพน้าประปาชุมชนเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วม ในชุมชนต้าบลจอมปลวก จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์, รองศาสตราจารย์ชัยศรี |
Keywords: | การปรับปรุงคุณภาพน้้าประปา, ชุมชน, พลังงานแสงอาทิตย์, ต้าบลจอมปลวก |
Issue Date: | 21-Sep-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี2558; |
Abstract: | การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงประยุกต์ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบพัฒนาทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้้าประปาชุมชนส้าหรับใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือนของชุมชน หาวิธีการออกแบบ ติดตั้ง และตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบผลิตน้้าประปาชุมชนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมของชุมชนตัวอย่าง 1 แห่ง และหาวิธีการถ่ายทอดแนวทางการปรับปรุงคุณภาพน้้าประปาชุมชนที่เหมาะสมในต้าบลจอมปลวก อ้าเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยด้าเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ศึกษาคุณภาพน้้าจากแหล่งผลิตประปาหมู่ชุมชนของต้าบลใน 7 แห่ง (ทุกชุมชนของต้าบล) โดยวิธีการเก็บแบบจ้วง (Grap Sampling) ท้าการวิเคราะห์หาค่า ความขุ่น ของแข็งละลายน้้าทั้งหมด ความกระด้าง ซัลเฟต ความเป็นกรด เบส ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคดเมียม แมงกานีส และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยเก็บตัวอย่างน้้าประปาชุมชนแห่งละ 2 ตัวอย่าง (น้้าดิบก่อนเข้าสู่ระบบผลิตน้้าประปาและน้้าหลังผ่านระบบผลิตน้้าประปา) ท้าการออกแบบ ติดตั้ง ระบบปรับปรุงคุณภาพน้้าประปาชุมชนโดยท้าเป็นชุดสาธิตที่สามารถน้าไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ได้สะดวก และใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วจัดเก็บลงในระบบส้ารองไฟฟ้า (แบตเตอรี่) พร้อมกับตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบปรับปรุงคุณภาพน้้า ในระยะเวลา 2 เดือน วิเคราะห์และประเมินผลการปรับปรุงคุณภาพน้้าเพื่อสรุปรูปแบบและขั้นตอนของการผลิตน้้าที่เหมาะสมที่สุด โดยใช้หลักการผลิตน้้าเพื่อน้ามาใช้ในการอุปโภคบริโภคตามมาตรฐานเกณฑ์คุณภาพน้้าประปาของกรมอนามัย พ.ศ. 2543 พร้อมทั้งจัดอบรม เผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านตัวแทนและผู้น้าชุมชนของพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพน้้าประปาก่อนวิจัยมีคุณภาพด้อยกว่ามาตรฐานก้าหนด หลังท้าการวิจัยและออกแบบปรับปรุงระบบผลิตน้้าเป็น 2 ระบบ คือ ระบบผลิตน้้าด้วยระบบอัลตร้าฟิลเทรชัน และระบบรีเวอร์สออสโมซีส พบว่า มีประสิทธิภาพในการบ้าบัดสิ่งปนเปื้อนที่ต่างกัน โดยพบว่า ประสิทธิภาพในการกรองของระบบผลิตประปาชุมชนด้วยระบบอัลตร้าฟิลเทรชัน สามารถลดปริมาณของแข็งละลายน้้าทั้งหมด (TDS) ลงได้ 51.79% ลด ความกระด้างลงได้ 40.79% สามารถลดสารซัลเฟตได้สูงสุด 82.36% ลดโลหะหนัก 12.82 - 41.09% และโคลิฟอร์มได้ 95.45% ส่วนระบบรีเวอร์สออสโมซีส สามารถลดปริมาณของแข็งละลายน้้าทั้งหมด
(2)
(TDS) ลงได้ 98.10% ลดความกระด้างลงได้ 88.92% สามารถลดสารซัลเฟตได้สูงสุด 98.34% ลดโลหะหนัก 87.36 - 94.06% และโคลิฟอร์มได้ 99.81% ส้าหรับผลการอบรมเผยแพร่แก่ชุมชนและผู้น้าชุมชน พบว่า มีระดับความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพน้้าได้มากขึ้นกว่า 86.5% มีความพึงพอใจใน การรับรูข้อมูลมากถึง 89.5% และสามารถน้าไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้มากกว่า 85% สรุปได้ว่าระบบผลิตน้้าที่เหมาะสมกับพื้นที่นี้ คือ ระบบรีเวอร์สออสโมซีส รองลงมา คือ ระบบอัลตร้าฟิลเทรชัน ส่วนพลังงานที่ควรน้ามาใช้ร่วมในการผลิต คือ พลังแสงอาทิตย์ที่ผ่านแผงโซลาร์เซล ซึ่งสามารถผลิตน้้าได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่เก็บส้ารองไฟฟ้า และหากต้องการผลิตในจ้านวนชั่วโมงที่มากขึ้นจ้าเป็นต้องใช้แบตเตอรี่เก็บส้ารองไฟฟ้าร่วมด้วย |
Description: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/605 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2558
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|