dc.contributor.author |
แสงอรุณ, ปฏิญญาณ์ |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-11T06:23:47Z |
|
dc.date.available |
2018-12-11T06:23:47Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-11 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1165 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้บริโภคต่อบรรจุ
ภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ของสหกรณ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อสรุปแนวทางการออกแบบตรา
สัญลักษณ์ ลวดลาย และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าและฉลากสินค้าข้าวให้มีประสิทธิภาพเพื่อ
ส่งเสริมช่องทางการตลาดค้าปลีกข้าวเกษตรอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาปัญหาและความ
ต้องการของผู้บริโภคต่อบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ของสหกรณ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดนครสวรรค์
ผลการวิจัยพบว่า ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ในการตัดสินใจซื้อสินค้าข้าวเกษตรอินทรีย์นครสวรรค์นั้น ต้อง
สะท้อนภาพลักษณ์ของผู้ซื้อ เช่น ดูสุขภาพดีด้วยการใช้ภาพข้าว รวงข้าว นาข้าว วิถีการผลิตข้าวแบบ
อินทรีย์ และสะท้อนความน่าเชื่อถือ Competence บนฉลากบรรจุภัณฑ์ให้ได้มากกว่าเดิม ข้อมูลที่
ต้องมีบนฉลากบรรจุภัณฑ์ มากที่สุดคือคำว่า ข้าวอินทรีย์ โดย สรุปการเรียงลำดับข้อมูล 5 อันดับที่
ปรากฎบนฉลากบรรจุภัณฑ์เกษตรข้าวอินทรีย์ นั้น หัวเรื่อง เกษตรอินทรีย์เป็นคำที่ส่งผลต่อการดึงดูด
ใจให้ผู้บริโภคหยิบสินค้าหรือสนใจสินค้าก่อนต่อมาเป็นการอ่านชื่อยี่ห้อข้าวชั้นเลิศข้อมูลรายละเอียด
ชนิดพันธุ์ข้าว ประเภทข้าว คุณประโยชน์ที่มีหรือหาความแตกต่างในแบรนด์ที่เหมือนกัน จากนั้นมีการ
ดูข้อมูลการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ การติดต่อ สถานที่ผลิต และจัดจำหน่ายสินค้า
ตามมา 2) เพื่อสรุปแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์ ลวดลาย และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า
และฉลากสินค้าข้าวให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมช่องทางการตลาดค้าปลีกข้าวเกษตรอินทรีย์ พบว่า
ควรใช้เทคนิคภาพที่วาดลายละเอียดเสมือนจริง Drawing หรือภาพลายเส้นกราฟิกแบบร่วมสมัย โดย
มีการจัดองค์ประกอบภาพด้านหน้ามากกว่าตัวอักษร ในอัตราส่วนภาพ:ตัวอักษร 70:30 ไม่ควรใช้
สีสันสดใส ที่สว่างจนเกินไปประเภทสีสะท้อนแสง ซึ่งอาจส่งผลทางลบในแง่ของการมีการปนเปื้อน
สารพิษ สีที่ควรนำมาออกแบบจึงควร สีที่ลด ค่าของความสดลงแล้ว คือมีการผสมด้วย สีอื่นๆ หากมี
ความจำเป็นต้องใช้สี สดใสหรือ สีทองเพื่อสื่อด้านความเป็นคนมีรสนิยมดี หรูหรา ควรใช้ ในปริมาณที่
ไม่เกิน 15-20% ของปริมาณของสีรวม ที่ใช้ทั้งหมดนอกจากนี้ในการไล่เฉดสามารถควบคุมโทนเพื่อ
เน้นความรู้สึกสงบ อ่อนโยนไม่เป็นพิษ ปลอดภัย การใช้สีที่เหมาะ กับบรรจุภัณฑ์อาหารเกษตร
อินทรีย์ มีหลักการใช้โดยเน้น สี 1) Nutrition 2) NonToxic : Safety 3) Natural ตามลำดับ โดย
เน้นการใช้สีแบบดังกล่าวเป็นพื้นสีรวมหลักในพื้นที่ฉลากสินค้า |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.title |
ศึกษาตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าข้าวอินทรีย์จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการขายปลีก |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |