dc.contributor.author |
กองเส็ง, เกรียงไกร |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-13T07:29:18Z |
|
dc.date.available |
2018-12-13T07:29:18Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-13 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1206 |
|
dc.description |
งานวิจังบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยเรื่อง “โลกทัศน์ของชาวจีนจากสำนวนจีนที่มีคำว่า “กุ่ย”(鬼“ผี”) ปรากฏอยู่ในสำนวน” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โลกทัศน์ของชาวจีนจากสำนวนจีนที่มีคำว่า “กุ่ย” (ɡuǐ鬼“ผี”) ปรากฏอยู่ในสำนวน และวิเคราะห์สัญลักษณ์ของ “ผี” ในโลกทัศน์ของชาวจีนจากคำว่า “กุ่ย” (ɡuǐ鬼“ผี”) ที่ปรากฏอยู่ในสำนวนจีน โดยศึกษาสำนวนจีนจากหนังสือพจนานุกรมสำนวนจีน ฉบับสมบูรณ์ ของ Zheng Weili และ Zhou Li ปี 2009 สำนักพิมพ์บริษัท ซังอู้อิ้นซูก่วน กั๋วจี้ จำกัด ปักกิ่ง
ผลการศึกษาพบว่า สำนวนจีนที่มีคำว่า “กุ่ย” (ɡuǐ鬼“ผี”) ปรากฏอยู่ในสำนวนนั้นสามารถสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ของคนจีนได้ทั้ง 3 แบบ แบบแรกโลกทัศน์ต่อมนุษย์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ของชาวจีนที่มีต่อมนุษย์ว่ามีพฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึกทั้งเชิงบวกและเชิงลบ แบบที่สองสะท้อนให้เห็นถึงโลกทัศน์ต่อธรรมชาติ ที่แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติไม่มีอะไรแน่นอน มีความแปลกประหลาดและสามารถทำลายล้างมนุษย์ได้ แบบที่สามคือโลกทัศน์ต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นว่าสรรพสิ่งอยู่เหนือความคาดเดา ความเชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ ความเชื่อในพลังอำนาจของผีหรือเทวดา ความเกรงกลัวในพลังอำนาจชั่วร้ายที่มองไม่เห็นและความเชื่อในเรื่องของวิญญาณ นอกจากนี้ สำนวนจีนที่มีคำว่า “กุ่ย” (ɡuǐ鬼“ผี”) ปรากฏอยู่ในสำนวนเหล่านี้ยังสะท้อนภาพสัญลักษณ์ของ “ผี” ในโลกทัศน์ของชาวจีนออกมาในลักษณะต่างๆ ได้ 3 แบบ แบบแรกคือสัญลักษณ์โดยปกทั่วไปคือความเปลี่ยนแปลงและความลึกลับอัศจรรย์ แบบที่สองคือสัญลักษณ์ในเชิงบวก แสดงให้เห็นว่า “ผี” เป็นสัญลักษณ์ของความสามารถที่ล้ำเลิศ ความมีพลังอำนาจ การจูงใจ และความรวดเร็ว แบบที่สามคือสัญลักษณ์ในเชิงลบ แสดงให้เห็นว่า “ผี” เป็นสัญลักษณ์แห่งการถือตนเป็นใหญ่ ความไม่รู้หรือความคลุมเครือ ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ความไร้สาระ การเสแสร้ง พฤติกรรมที่มีลับลมคมนัย การหลอกลวง ความแปลกประหลาด ความคิดที่แปรปรวนและขี้ระแวง ความทุกข์ยากลำบาก ความวิตกกังวลหวาดกลัวและกลัดกลุ้ม วิธีการเล่ห์เหลี่ยมคดโกง ความชั่วร้ายและความอิจฉาริษยา และเป็นสัญลักษณ์แห่งความโศกเศร้า
ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะเห็นควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อของชาวจีนเรื่อง “ผี” ในแง่มุมอื่นๆ ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่อง “ผี” ของชาวจีนและชาวไทยในแง่มุมต่างๆ
รวมถึงควรมีการนำผลการวิจัยไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านจีนศึกษาต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.subject |
1. โลกทัศน์ 2. ชาวจีน 3. สำนวน 4. กุ่ย |
th_TH |
dc.title |
โลกทัศน์ของชาวจีนจากสำนวนจีนที่มีคำว่า “กุ่ย”(鬼“ผี”) ปรากฏอยู่ในสำนวน |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |