Title:
|
การออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ของชมพูทับทิมจันทร์ |
Author:
|
ธีรสถิตย์ธรรม, พิมพ์พลอย; กิลาโส, สถาปัตย์
|
Abstract:
|
ปัจจุบันประเทศผู้นําเข้าผลิตภัณฑ์อาหารและพืชผลการเกษตรในหลายประเทศได้เสนอให้มีการทำโครงการพิสูจน์แหล่งที่มาและความปลอดโรคและสารปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์อาหารและพืชผลการเกษตรขึ้น ดังนั้นประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สําคัญไปยังประเทศเหล่านี้จึงสมควรที่จะเตรียมพร้อมเพื่อรับมาตรการดังกล่าว ระบบการตรวจสอบยอนกลับ (traceability) จึงเปนเครื่องมือชวยลดความเสี่ยง ช่วยให้ผูที่อยูในหวงโซอุปทานสามารถตรวจสอบทราบที่มาของปัญหาไดอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดภาระคาใช้จ่ายอันเกิดจากการตองเรียกผลิตภัณฑ์กลับคืนลงไปไดมาก ทําใหสามารถประหยัดคาใช้จ่ายและรักษาชื่อเสียงของสินค้าหรือผลิตภัณฑเอาไวได การมีระบบตรวจพิสูจนยอนกลับ กอให้เกิดผลดีตอผูมีสวนรวมทุกฝายในห่วงโซ่การผลิต จุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ คือ เพื่อศึกษากระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบย้อนกลับของการส่งออกชมพู่ทับทิมจันทร์ไปสู่ประเทศจีน และเพื่อออกแบบต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับพืชผลการเกษตรเพื่อการส่งออกของชมพู่ทับทิมจันทร์ไปสู่ประเทศจีน โดยพบว่าโมเดลห่วงโซ่อุปทานชมพู่ทับทิมจันทร์ ประกอบไปด้วย กลุ่ม 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำและมีการนำไปทดสอบในแต่ละด้านอีก โดยมีผลว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของการเลือกใช้เทคโนโลยีระบุตัวตน ผลการประเมินความเหมาะสมของความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่าย และผลการประเมินความเหมาะสมด้านผู้ใช้งาน มีค่าเฉลี่ยความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 มีความเหมาะสม โดยที่ผลการประเมินความเหมาะสมของโมเดลห่วงโซ่อุปทานชมพู่ทับทิมจันทร์มีค่าเฉลี่ยความสอดคล้องเท่ากับ 0.67 ซึ่งก็หมายความว่าสอดคล้องเช่นกัน |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1253
|
Date:
|
2019-01-08 |