dc.contributor.author |
ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์, รองศาสตราจารย์ชัยศรี |
|
dc.date.accessioned |
2019-01-23T05:26:50Z |
|
dc.date.available |
2019-01-23T05:26:50Z |
|
dc.date.issued |
2019-01-23 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1353 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสินค้าและศึกษากลุ่มอาชีพผู้ผลิตสินค้ากลุ่มผู้ประกอบการรายเดียวและกลุ่มSMEs ประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ในจังหวัดเพชรบุรีประกอบด้วย 8 อำเภอได้แก่ เมืองเพชรบุรี อำเภอเขาย้อย อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอบ้านแหลม อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 210 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 138 ราย พื้นที่สัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจงโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่สามารถระบุจำนวนได้ คือ เจ้าของกิจการบริษัท จีราด้า เลเธอร์ แอนด์ โปรดักส์ จำกัด ที่ได้รับใบรับรองจดทะเบียนร้านเป็นสินค้า OTOP การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพเพื่อนำมาพัฒนาทดลองเพื่อสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ให้กับชุมชนแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การประชุมกลุ่มเพื่อพัฒนาทดลองต้นแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณหาค่าสถิติ ข้อมูลที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย ผู้วิจัยได้นำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากวัตถุประสงค์นำมาเป็นแนวทางในการเชิญผู้เชี่ยวชาญในการประชุมกลุ่มย่อย แล้วนำเสนอในที่ประชุมหลังจากนั้นได้สรุปผลจากการประชุมเป็นรายประเด็นผลการวิจัยพบว่า
ด้านการวางแผน พบว่า การจัดคนและมอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.94 อยู่ในระดับมาก และได้รับงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.25 อยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านการนำเทคนิคการผลิตมาสร้างมูลค่าเพิ่ม พบว่า การประมาณระยะเวลาในกระบวนการผลิตต่อชิ้นงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.30 อยู่ในระดับมาก และการนำคอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.25 .อยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านมาตรฐานการผลิต พบว่า การกำหนดมาตรฐานของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.87 อยู่ในระดับมาก และสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.15 อยู่ในระดับน้อยที่สุด การกำหนดเวลาในการซ่อมเครื่องมือ พบว่าคู่มือการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.52 อยู่ในระดับน้อย และการจดบันทึกความถี่ในการซ่อมบำรุงเครื่องมือ/เครื่องจักร มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.30 อยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านการประชาสัมพันธ์พบว่า การประเมิน แนะนำสินค้าตัวใหม่ให้กับลูกค้า มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.06 อยู่ในระดับมาก และการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.36 อยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงเรือน พบว่าแสงสว่างเพียงพอในการทำงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.33 อยู่ในระดับมาก และการปฏิบัติงานมีกลิ่นรบกวนในการทำงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.62 อยู่ในระดับน้อย การปกป้องผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ของท่านมีโครงสร้างบรรจุภัณฑ์สามารถปิดได้สนิทเพื่อคุ้มครองผลิตภัณฑ์ภายใน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.75 อยู่ในระดับปานกลาง และผลิตภัณฑ์ของท่านมีการปกป้องผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน ซึ่งเกิดจากแรงกระแทกภายนอกได้ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.22 อยู่ในระดับน้อย คุณภาพของบรรจุภัณฑ์ พบว่าการอำนวยสะดวกใช้งานง่าย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.54 อยู่ในระดับปานกลาง และสามารถเปิดรับประทานผลิตภัณฑ์ได้ง่ายมีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.33 อยู่ในระดับน้อย สินค้าที่ผลิต พบว่า การใช้แรงงานและสถานที่ในท้องถิ่นในการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.83 อยู่ในระดับมาก และการใช้ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.38 อยู่ในระดับน้อยที่สุด การเข้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าการรับการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.55 อยู่ในระดับน้อย และการรับการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันการศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.24 อยู่ในระดับน้อยที่สุด กระบวนการผลิตที่คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่ากระบวนการผลิตที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.07 อยู่ในระดับมาก และการรายงานหรือบันทึกที่แสดงถึงการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.58 อยู่ในระดับน้อย การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม พบว่า กระบวนการบริหารจัดการขยะและของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.82 อยู่ในระดับปานกลาง และลำดับสุดท้ายการเก็บขยะและของเสียมาใช้ประโยชน์ เช่น ก๊าซชีวภาพ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.19 ซึ่งอยู่ในระดับน้อยที่สุด จากการสัมภาษณ์พบว่า สืบเนื่องจากบริษัท เซียนหนิง ซีฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ดำเนินธุรกิจผู้ผลิตอาหารทะเลแช่เยือกแข็งส่งออกทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป (EU) โดยผลิตกุ้งและปลานิลแล่ ทำให้มีส่วนของเศษเนื้อปลาที่ เหลือจากการแล่ รวมทั้งปริมาณหนังปลาที่ผ่านการแล่เอาเนื้อออกไปจำหน่าย ที่ผ่านมาบริษัทฯ นำหนังปลาขายให้กับชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงกิโลกรัมละ 2.5 บาท เพื่อนำไปตากแห้งและทอดรับประทานเป็นอาหารว่างหรือใส่ในก๋วยเตี๋ยว จากประโยชน์ของหนังปลาที่เหลือทิ้งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มกลายเป็นหนังปลาทอดกรอบได้ ทำให้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์จากหนังปลาที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่านี้ และกลายเป็นจุดเริ่มแนวคิดโครงการนำหนังปลานิล ไปทดลองฟอกที่โรงงานฟอกย้อมในประเทศไต้หวัน โดยได้พัฒนาและทำเป็นตัวอย่างออกมา จากนั้นได้จัดหาโรงงานฟอกย้อมหนังปลาในประเทศไทยเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วยการสร้างคุณค่าให้กับหนังปลาสด |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2560; |
|
dc.title |
การยกระดับสินค้า OTOP เข้าสู่คุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สู่ SMEs ในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |