DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2560 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1051

Title: การพัฒนาระบบสารสนเทศห้องสมุดวัดราชาธิวารราชวรวิหาร
Authors: บรรจงเขียน, วรรณรัตน์
ธนากร อุยพานิชย์, ธนากร
Keywords: -
Issue Date: 27-Nov-2018
Series/Report no.: งานวิจัย 2560;
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการวิจัยไปชี้นำในการพัฒนาระบบสารสนเทศห้องสมุดวัดราชาธิวารราชวรวิหาร เพื่อศึกษางานสารสนเทศวัดราชาธิวาสราชวรวิหารจัดการระบบหมวดหมู่ และจัดกิจกรรมให้ตรงต่อความต้องการผู้ใช้ และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบและผู้ใช้ห้องสมุดกลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระ บุคคลทั่วไป ที่เข้าใช้บริการในเดือน มกราคม – มีนาคม 2560 จำนวน 20 คน โดยวิธีการสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ จำนวน 20 ชุด รวบรวมข้อมูลโดยส่งและรับแบบสอบถามด้วยตัวเอง ใช้โปรแกรมเอ็กซํล มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวนความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปที่ตอบแบบสอบถาม มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 20 คนโดยเป็นพระจำนวน 17 คน และทำงานรับจ้างทั่วไป 3 คน ใช้เป็นประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้ใช้บริการเป็นผู้ชายทั้งหมดคิดเป็น ร้อยละ 100 โดยมีอายุเฉลี่ยมากที่สุด 36-45 ปี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้างคิดเป็นร้อยละ 15 โดยเป็นพระมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85 มีความสนใจในการอ่าน ทุกวัน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85 โดยอ่านหนังสือพิมพ์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาเป็น อ่านหนังสือที่ชั้นคิดเป็นร้อยละ 20 2. แบบสอบถามการประเมินการจัดการ หมวดหมู่ การใช้งานระบบสารสนเทศ และความพึงพอใจ โดยกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ด้านการจัดการหมวดหมู่ พบว่าในภาพรวม อยู่ในระดับดี ( = 3.90, S.D.= 0.49) ถ้าพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การจัดวางเรียบร้อยอยู่เป็นระบบ มากที่สุด อยู่ในระดับดี( = 4.03, S.D.= 0.52) รองลงมา การจัดระบบห้องสมุดโดยใช้แถบสี อยู่ในระดับดี ( = 4.02, S.D.= 0.45) และอันดับที่สามเป็นการหยิบหนังสือง่ายดาย อยู่ในระดับดี ( = 3.91, S.D.= 0.58) ด้านการประเมินการใช้งานระบบสารสนเทศ โดยกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับดี ( = 3.87, S.D.= 0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สารสนเทศที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำ สูงที่สุด อยู่ในระดับดี ( = 4.11, S.D.= 0.65) รองลงมาเป็นข้อระบบสารสนเทศมีความสะดวกในการใช้งาน อยู่ในระดับดี ( = 4.02, S.D.= 0.62) และอันดับที่สาม เป็นข้อการประมวลผลคำสั่งในแต่ละขั้นตอนทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ( = 3.89, S.D.= 0.54) ด้านการประเมินความพึงพอใจการบริการ โดยกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับดี ( = 4.20, S.D.= 0.69) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีระบบการค้นหามากที่สุด อยู่ในระดับดี ( = 4.33, S.D.= 0.78) รองลงมาเป็นข้อที่ ใช้แถบสีติดที่สันหนังสือ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา อยู่ในระดับดี ( = 4.21, S.D.= 0.64) และอันดับที่สาม เป็นจัดสภาพแวดล้อมให้น่าอ่าน อยู่ในระดับดี ( = 4.05, S.D.= 0.56)แต่เนื่องจากระบบต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอีก สามารถวิเคราะห์ได้ว่าขาดผู้ประสานและดำเนินงาน ผู้ประสานและรับผิดชอบมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานครั้งนี้ ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยการพัฒนาระบบสารสนเทศห้องสมุดวัดราชาธิวารราชวรวิหาร มีข้อสังเกต และมีข้อมูลเพิ่มเติมในงานวิจัยต่อไปดังนี้ 1. ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมในการใช้บริการงานห้องสมุดวัดราชาธิวาสราชวรวิหารมากขึ้น 2. จัดหากิจกรรมอื่น ที่ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับทางวัดมากขึ้น เช่น จัดทำระบบการสืบค้นพิพิธภัณฑ์ในบริการบนเครือข่ายสารสนเทศ
Description: งานวิจัยงประมาณรายได้มาหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1051
Appears in Collections:แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2560

Files in This Item:

File Description SizeFormat
หน้าปกใน del aug 60.docปก399 kBMicrosoft WordView/Open
บทที่ 1 nong ปี 60.docบทที่195.5 kBMicrosoft WordView/Open
บทที่ 2 nong ปี 60.docบทที่2475.5 kBMicrosoft WordView/Open
บทที่ 3 nong ปี 60.docบทที่32.97 MBMicrosoft WordView/Open
บทที่ 4 nong ปี 60.docบทที่4120.5 kBMicrosoft WordView/Open
บทที่ 5 nong ปี 60.docบทที่582 kBMicrosoft WordView/Open
bibiography ปี 60.docบรรณาณุกรม93 kBMicrosoft WordView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback