Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1252
|
Title: | รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสียพื้นที่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | เกษมสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสุวรรณ ชูอินทร์, รองศาสตราจารย์ศิวพันธุ์ อุฑารสกุล, อาจารย์ ดร.ทัศนาวลัย ศิรภัทร์ธาดา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ญาณัญฎา ฐิติเวส, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ดวงกมล ปลั่งเจริญผล, นางสาวสุภีรัตน์ ช่วงแย้ม, นายอดิศักดิ์ |
Keywords: | รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ,การจัดการน้ำเสีย จังหวัดสมุทรสงคราม |
Issue Date: | 8-Jan-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561; |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสียพื้นที่ อำเภออัมพวาจังหวัด
สมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียในคลองหลักแม่น้ำแม่กลอง พื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสียพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการน้ำเสียพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามและ เพื่อหารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสียพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทำการศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินในคลองหลักแม่น้ำแม่กลองและคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โดยมีจุดเก็บตัวอย่างน้ำผิวดินและน้ำทิ้งจากชุมชน อย่างละ40ตัวอย่างตามพารามิเตอร์ของกรมควบคุมมลพิษ การหาระดับการมีส่วร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียโดยเลือก 395ครัวเรือนใช้แบบสอบถามหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาปัจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมใช้แบบสอบถามเลือกเจาะจงจำนวน 395 ครัวเรือน การหารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสียพื้นที่อำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงครามโดยสัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย โดยพรรณนาแบบความเรียง ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนตุลาคม 2559 เดือนกรกฎาคม 2560
ผลการวิจัยพบว่า (1) พารามิเตอร์คุณภาพน้ำผิวดินจากคลองหลักและแม่น้ำแม่กลองมีค่าต่ำกว่าน้ำทิ้งจากชุมชน 3 BOD และอุณหภูมิมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงครามในด้านผลประโยชน์อยู่ในระดับสูงที่ระดับ 3.60 (3) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเสียอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่าปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียด้านการเข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 3.09 ด้านแรงจูงใจ อยู่ในระดับปานกลาง
(2)
คะแนนเฉลี่ย 3.32 รองลงมาคือการสื่อสารการมีส่วนร่วมและการจัดการตามลำดับ (4) รูปแบบการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสียอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม สรุปว่าควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐานบางประการเช่นปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายด้านน้ำทิ้งโดยเฉพาะน้ำเสียจากภาคเกษตรกรรม ชุมชน และการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบชลประทานในการจัดการน้ำเสียจากระบบบำบัดไปสู่พื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ นอกจากนี้ควรมีการกำหนดโครงการและกิจกรรมด้านความตระหนัก ด้านสิ่งแวดล้อมให้ชุมชนและเยาวชนในการติดตามตรวจสอบแหล่งน้ำเป็นประจำ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1252 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|