Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2554 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/163
|
Title: | ตัวแบบทางสถิติสาหรับการประเมินคุณภาพนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย |
Authors: | ภิญโญ, ธีระดา โทวิชา, อดิศัย |
Keywords: | สถิติ คุณภาพนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 20-Jun-2015 |
Publisher: | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2554; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ เพื่อประเมินคุณภาพนักศึกษา ค้นหาปัจจัยที่ส่งผล
ต่อคุณภาพนักศึกษา ตรวจสอบระดับอิทธิพลของปัจจัย และสร้างตัวแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
การประเมินคุณภาพนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยที่สาเร็จการศึกษาภายใน 3 ปีการศึกษาที่ผ่าน
มา จานวน 240 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์
ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จานวน ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน สถิติค่า
สัมประสิทธิ์คราเมอร์สวี และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของบัณฑิตเกี่ยวกับคุณลักษณะ ของตนเอง ตามมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษา โดยภาพรวม มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านทักษะความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รองลงมา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะ
ทางปัญญา และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามลาดับ
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การประเมินคุณภาพนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย ได้แก่
คุณลักษณะของบัณฑิต ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร
และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความ
รับผิดชอบ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และอาชีพ ค้าขายธุร/กิจส่วนตัว ตามลาดับ ส่วนปัจจัยที่ไม่มี
อิทธิพลต่อการประเมินคุณภาพนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย ได้แก่ เพศ อาชีพ (รับราชการ) อายุ
อายุการทางาน เกรดเฉลี่ยสะสม และรายได้ ตามลาดับ
3. ปัจจัยที่มีระดับอิทธิพลสูงสุดที่ส่งผลต่อ การประเมินคุณภาพนักศึกษาของบัณฑิต
วิทยาลัย ได้แก่ คุณลักษณะของบัณฑิต ด้านทักษะทางปัญญา รองลงมา ด้านทักษะการ
วิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้ ด้านทักษะ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยมีความสัมพันธ์
ทางบวก ตามลาดับ ส่วน อาชีพ ค้าขายธุร/กิจส่วนตัว เป็นปัจจัยที่มีระดับอิทธิพลต่าสุด โดยมี
ความสัมพันธ์ทางลบที่ส่งผลต่อการประเมินคุณภาพนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย
4. ตัวแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การประเมินคุณภาพนักศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ
Log (odds) = -80.746 +3.738 ด้านทักษะทางปัญญา + 3.812 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิง
ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ +4.530 ด้านความรู้ +5.702 ด้านทักษะ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ +3.785 ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยมีเกณฑ์การ
คัดเลือกตัวแบบ AIC (Akaike Information Criterion) เท่ากับ 50.717 โดยนักศึกษาที่มีลักษณะ
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความ
รับผิดชอบ ด้านความรู้ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านทักษะทางปัญญา เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะมีโอกาส ที่
คุณภาพสูงกว่าเกณฑ์เพิ่มขึ้น 299.3 , 92.8 , 45.2 , 44.0 และ 42.0 เท่า ตามลาดับ
คาสาคัญ 1. การประเมินคุณภาพของนักศึกษา 2. มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ
3. ตัวแบบทางสถิติ |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/163 |
ISSN: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2554
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|