Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2558 >
ภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/556
|
Title: | การพัฒนากระบวนการผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ ของอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม |
Authors: | เมฆขำ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา |
Keywords: | - |
Issue Date: | 20-Sep-2018 |
Series/Report no.: | งานวิจียปี 2560; |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์การบริหารจัดการกระบวนการผลิตและการบรรจุภัณฑ์และประเมินสภาพความพร้อมในการดำเนินงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามอัตลักษณ์ของชุมชน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ในจังหวัดสมุทรสงคราม ประชากร จำนวน 177ราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 123 ราย ซึ่งแบ่งเครื่องมือออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนบุคคลและพื้นฐานการประกอบอาชีพลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check-list) ตอนที่ 2 การบริหารจัดการกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ การควบคุม ด้านสภาพความพร้อม และการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ ตอนที่ 3 สภาพความพร้อมในการดำเนินงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตอนที่ 4 ความสามารถของผู้ผลิตสินค้าในชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ได้แก่ ด้านการผลิตและด้านการออกแบบลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check-list) ตอนที่ 5 ลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ประกอบด้วย เทคโนโลยีการจัดการ เทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีคุณภาพและมาตรฐาน เทคโนโลยีการบำรุงรักษา เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ความปลอดภัยในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป คำนวณหาความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ใช้การประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์ แล้วสรุปเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
ด้านการบริหารจัดการกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ พบว่า การสั่งการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า อยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.15 การควบคุมสินค้าของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่าโดยอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.07 การจัดองค์กรของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.00การวางแผนของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.37 ด้านสภาพความพร้อมในการดำเนินงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP พบว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้ามีการจัดหาเทคโนโลยีการผลิต มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับปานกลาง
ความสามารถของผู้ผลิตสินค้าในชุมชนสู่การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) พบว่ากลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP มีความต้องการแรงงาน มีสภาพทางการเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิต เพียงพอเป็นบางครั้ง แหล่งที่มาของวัตถุดิบหาได้ในชุมชน ในการรักษาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP การผลิตไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่เพียงพอ มีสถานที่จัดเก็บวัตถุดิบกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และยังอยู่ในระหว่างการขยายกำลังการผลิต มีกำลังการผลิตต่อความต้องการของลูกค้าที่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ไม่มีการบรรจุหีบห่อมีมากที่สุด รูปทรงผลิตภัณฑ์มีผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ผู้ผลิตสินค้า OTOP จะมีส่วนร่วมในการการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในการออกแบบของผู้ผลิตมีความคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์อื่นบ้างบางส่วน สภาพความพร้อมในการดำเนินงานของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้
ด้านเทคโนโลยีการจัดการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.76 พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การทำบัญชีรายรับ/รายจ่าย
ด้านเทคโนโลยีคุณภาพและมาตรฐาน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.50 พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ สารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์
ด้านเทคโนโลยีการผลิตพบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.23 พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต
เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.22 พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต
ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ความปลอดภัยในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.54 พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ปัญหาด้านมลภาวะทางน้ำจากการผลิต
ด้านเทคโนโลยีการบำรุงรักษา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย มีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.31 พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ คู่มือการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงที่ถูกต้อง
จากการประชุมกลุ่ม สรุปได้ว่า การบริหารจัดการกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ ในด้านที่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) การสั่งการที่ดีนั้นผู้ผลิตต้องมีความรู้ในงานที่ทำ 2) ต้องมีการควบคุมคุณภาพสินค้า 3) การจัดองค์กร ต้องมีการแบ่งแผนกและหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน 4) มีการวางแผนการจัดหาวัตถุดิบ ส่วนการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่ควรส่งเสริมพัฒนา คือ 1) การสั่งการ ได้แก่ การจูงใจ 2) การควบคุม ได้แก่ การควบคุมพนักงาน 3) การจัดองค์กร ได้แก่ การแยกงานออกเป็นงานย่อย 4) การวางแผน ได้แก่ การวางแผนการจัดหาเงินทุน
ด้านสภาพความไม่พร้อมของผู้ผลิตสินค้า OTOP ในด้านที่ควรส่งเสริมและควรพัฒนา ได้แก่ 1) การออกแบบสินค้า 2) ดูความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง 3) การถูกเลียนแบบสินค้า 4) การประชาสัมพันธ์ 5) การจัดหาเทคโนโลยีการผลิต แต่ทั้งนี้กลุ่มผู้ผลิตยังมีความต้องการแรงงานเพิ่ม สภาพทางการเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิตพอเป็นบางครั้ง แหล่งที่มาของวัตถุดิบหาได้ในชุมชน วัตถุดิบนำมาจากในชุมชน/ตำบล ในจังหวัด และภายนอกจังหวัด อยู่ในระหว่างการขยายกำลังการผลิต ส่วนการรักษาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต การผลิตไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่เพียงพอ สภาพเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต มีทั้งสภาพสมบูรณ์และสภาพพอใช้งาน ทางด้านกำลังการผลิตต่อความต้องการของลูกค้าเพียงพอ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังไม่มีการบรรจุหีบห่อ รูปทรงผลิตภัณฑ์มีผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตมีส่วนในการออกแบบเป็นบางครั้ง ปัจจุบันยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่การออกแบบยังมีความคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งยังไม่เป็น อัตลักษณ์ของตนเองหรือกลุ่มแต่ก็เคยได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบบ้างเป็นบางครั้ง ลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ที่ควรปฏิบัติได้แก่ พบว่า 1.เทคโนโลยีการจัดการคือ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในการทำงาน 2.เทคโนโลยีคุณภาพและมาตรฐานคือ สินค้าที่ผลิตตรงกับความต้องการของลูกค้า 3.เทคโนโลยีการผลิตคือต้องมีการวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับวัตถุดิบ 4.เทคโนโลยีสารสนเทศคือ ต้องมีการจำหน่ายสินค้าโดยวิธีขายตรง 5.เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ความปลอดภัยในการทำงานคือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอในการทำงาน 6.เทคโนโลยีการบำรุงรักษาคือ ต้องมีการตรวจเช็ดอุปกรณ์ก่อนและหลังจากเลิกปฏิบัติงาน
ส่วนลักษณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ควรส่งเสริมควรพัฒนา พบว่า 1.เทคโนโลยีการจัดการคือ ส่งเสริมและพัฒนาด้านการทำบัญชีรายรับ/รายจ่าย 2.เทคโนโลยีคุณภาพและมาตรฐานคือ ส่งเสริมและพัฒนาไม่ให้มีสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ 3.เทคโนโลยีการผลิต คือส่งเสริมและพัฒนาการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต 4.เทคโนโลยีสารสนเทศคือ ส่งเสริมและพัฒนาให้มีการโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต5.เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ความปลอดภัยในการทำงานคือ ส่งเสริมและพัฒนาลดปัญหาด้านมลภาวะทางน้ำจากการผลิต 6.เทคโนโลยีการบำรุงรักษาคือ ส่งเสริมและพัฒนาการใช้คู่มือ/การใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงที่ถูกต้องและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค |
Description: | งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2558 มหาวิทยลัยราชฏัสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/556 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2558
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|