dc.contributor.author |
โทแสง, อาจารย์มุกดา |
|
dc.contributor.author |
หัดสาหมัด, อาจารย์สุวรรณา |
|
dc.contributor.author |
พุฒเอก, อาจารย์อาภาภรณ์ |
|
dc.contributor.author |
สินไพบูลย์เลิศ, อาจารย์อรวรรณ |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-12T04:28:53Z |
|
dc.date.available |
2018-12-12T04:28:53Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-12 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1186 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกใช้จุดฝังเข็ม รูปแบบการรักษาร่วมกับการฝังเข็มรักษาอาการ CSR เนื่องจากกระดูกสันหลังคอเสื่อมแบบกดทับรากประสาท โดยเก็บข้อมูลจาก China Journal Full-text Database (CNKI) ย้อนหลังในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 – พ.ศ.2558 เพื่อมาวิเคราะห์ โดยใช้วิธีคิดเข้าและคัดออกที่มีมาตรฐาน เพื่อหาค่าความถี่ และค่าร้อยละของจุดที่เลือกใช้และรูปแบบการรักษาร่วมกับการฝังเข็มรักทางการแพทย์แผนจีน
ผลการวิจัยพบว่า : 1. จำนวนงานวิจัยที่ศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับจุดฝังเข็มที่ใช้ในการรักษา กระดูกสันหลังคอเสื่อมแบบกดทับรากประสาท(Cervical radiculopathy) จากปี พ.ศ.2548 ถึง พ.ศ. 2558 จำนวน 500 บทความ ไม่สามารถดาวโหลดเอกสารได้จำนวน 6 บทความ เอกสารที่เข้าเกณฑ์ได้จำนวน 244 บทความ
2. จากการศึกษาบทความ โดยศึกษาจุดทางการแพทย์แผนจีนที่ใช้รักษา อาการ CSR โดยจุดที่ใช้มีทั้งหมด 131 จุด จุดที่ใช้บ่อยที่สุดคือ ฮั่วถัวเจี่ยจี่(Ex-B2) มีการเลือกใช้ จำนวน 170 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 69.67 เฟิงสวือ(GB20) จำนวน 147 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 60.25 เหอกู่(LI14) จำนวน 118 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 48.36 ชวีฉือ(LI11) มีการเลือกใช้ จำนวน 117 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 47.95 ไว่กวน(TE5) จำนวน 112 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 45.90 ต้าจุย(GV14) จำนวน 95 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 38.93 โฮ่วซี(SI3) จำนวน 88 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.06 เทียนจง(SI11) จำนวน 85ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 34.84 เจียนจิ่ง(GB21) จำนวน 82 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 33.61
3. วิธีการรักษา การรักษาจำนวน 244 บทความ แบ่งเป็นชนิดของการรักษา รูปแบบ 1 ชนิด คือ ฝังเข็มเป็นหลักจำนวน 53 บทความ คิดเป็นร้อยละ 21.72 รูปแบบ 2 ชนิด คือ การฝังเข็มร่วมกับการรักษาอื่นๆ จำนวน 101 บทความ คิดเป็นร้อยละ 41.40 รูปแบบ 3 ชนิดขึ้นไป คือ การฝังเข็มร่วมกับการรักษาอื่นๆ จำนวน 24 บทความ คิดเป็นร้อยละ 9.84 รูปแบบ 4 ชนิดขึ้นไป คือ การฝังเข็มร่วมกับการรักษาอื่นๆ โดยมี จำนวน 66 บทความ คิดเป็นร้อยละ 27.05 จากการศึกษาย้อนหลัง 10 ปี การฝังเข็มรักษาอาการ CSR โดยวิธีฝังเข็มเป็นหลัก การรักษาดังกล่าวมีผลการรักษาที่แน่นอน แต่การเลือกใช้จุดยังไม่มีมาตรฐาน |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี2559; |
|
dc.subject |
การฝังเข็ม กระดูกสันหลังคอเสื่อมแบบกดทับรากประสาท ทบทวนวรรณกรรม |
th_TH |
dc.title |
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องการฝังเข็มรักษาโรคกระดูกสันหลังคอเสื่อม แบบกดทับรากประสาท |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |