dc.contributor.author |
เมฆขำ, รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2019-01-24T10:24:04Z |
|
dc.date.available |
2019-01-24T10:24:04Z |
|
dc.date.issued |
2019-01-24 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1414 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาวิธีการผลิตถ่านชีวภาพและถ่านกัมมันต์จากผลส้มโอ เปลือกส้มโอ กิ่ง และใบส้มโอ สร้างนวัตกรรมที่ใช้ผลิตถ่านชีวภาพ และถ่านกัมมันต์ในระดับชุมชน และตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐานทางกายภาพของถ่านชีวภาพ และถ่านกัมมันต์ที่เหมาะต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชน การดำเนินการวิจัยมี 2 ระดับ ประกอบด้วย การทดลองผลิตและวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางกายภาพของถ่านชีวภาพและถ่านกัมมันต์ในระดับห้องปฏิบัติการ และการนำสภาวะการทดลองที่เหมาะสมประยุกต์ใช้ผลิตนวัตกรรมในระดับชุมชน ผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมของการผลิตถ่านชีวภาพในช่วงอุณหภูมิ 350-450 องศาเซลเซียส ระยะเวลาการเผาแบบไร้อากาศ 1.0-2.0 ชั่วโมง สามารถถ่านได้ปริมาณผลผลิต 10-30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักส่วนประกอบของส้มโอ และพบว่าถ่านชีวภาพที่มีจำนวนรูพรุนสูงสุด คือ ถ่านผลส้มโอ เปลือกส้มโอ และกิ่งส้มโอ ตามลำดับ ส่วนถ่านกัมมันต์มีพื้นที่ผิวจำเพาะ (BET) ของถ่านกิ่งส้มโอ เปลือกส้มโอ และผลส้มโอ ที่กระตุ้นด้วย NaOH สูงสุดเรียงตามลำดับ คือ 496.369, 443.942 และ 453.118 m²/g ที่อัตราส่วนถ่านชีวภาพต่อสารเคมี 1:1 โดยน้ำหนัก เผาที่อุณหภูมิ 700 oC นาน 120 นาที สรุปการประยุกต์ใช้ผลิตชุดเผาถ่านชีวภาพ และถ่านกัมมันต์สามารถผลิต ถ่านได้ปริมาณร้อยละ 10-30 ของน้ำหนักวัตถุดิบ ที่สภาวะของอุณหภูมิในการเผาแบบไร้อากาศที่ 350-450 องศาเซลเซียส ที่มีขนาดพอเหมาะต่อการนำไปใช้ในพื้นที่ชุมชนของจังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.subject |
นวัตกรรม ถ่านชีวภาพ ถ่านกัมมันต์ ส้มโอ |
th_TH |
dc.title |
นวัตกรรมการผลิตถ่านชีวภาพและถ่านกัมมันต์จากส้มโอในพื้นทีอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |