Title:
|
กระบวนการจัดเก็บแนวการสอน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองนโยบายการจัดอันดับ มหาวิทยาลัย Webometrics Ranking of World Universities และเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณภาพการศึกษาแห่งชาติ |
Author:
|
เดือดขุนทด, นางสาวอุบลรัตน์; สันฐาน, นางสาวบัญนษร
|
Abstract:
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคBเพื่อส่งเสริมนโยบายส่งเสริมจัดอันดับมหาวิทยาลัย ระดับนานาชาติ
Webometric World University Ranking ,ส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระดับอุดมศึกษา และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการตรวจและการจัดเก็บรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3)
และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ.4) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 โดยศึกษาจาก
ประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการปรับกระบวนการจัดเก็บแนวการสอน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อ
ตอบสนองนโยบายการจัดอันดับมหาวิทยาลัย Webometrics Ranking of World Universities และเป็นไป
ตามกรอบมาตรฐานคุณภาพการศึกษาแห่งชาติ โดยกลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์ประจำสาขาวิชา สังกัดคณะ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทั้ง 11 สาขาวิชา ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่
ผู้วิจัยใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้จากการจัดเก็บรวบรวมแนวการสอน และแบบสอบถาม
(Questionnaire) โดยการจัดเก็บรวบรวมแนวการสอน ใช้แบบฟอร์มที่ผลรายงานจำนวนรายวิชาจากตรวจ
เว็บไซต์ลักษณะของแบบฟอร์มจะไปกระกอบไปด้วยรายวิชาทั้งหมด และรายชื่อผู้สอน โดยดึงข้อมูลจาก
เว็บไซต์งานทะเบียนและวัดผล กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และแบบสอบถาม
(Questionnaire) เป็นแบบสอบถาม ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพการจัดเก็บรวบรวมแนวการสอน สามารถจัดเก็บรายวิชาได้เกินกว่า ร้อยละ 95 ซึ่งถือ
ว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก
2. ความพึงพอใจของอาจารย์สังกัดคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เมื่อเปรียบเทียบ ก่อน และหลังการปรับกระบวนการจัดเก็บแนวการสอน ระดับความพึงพอใจของอาจารยBหลัง
การปรับกระบวนการจัดเก็บแนวการสอนในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ระดับ “มากที่สุด” เมื่อพิจารณา
แล้วพบว่า ส่งเสริมนโยบายส่งเสริมจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ Webometric World University
Ranking และนักศึกษาสามารถดาวน์โหลดเอกสาร มคอ.3 และมคอ.4 ในเว็บไซต์ส่วนตัวอาจารย์ได้ ได้
ค@าเฉลี่ยมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และระดับความพึงพอใจ ก@อน - หลังการปรับกระบวนการจัดเก็บ
แนวการสอน พบว่า ในภาพรวมการปรับกระบวนการจัดเก็บแนวการสอน อาจารย์มีความพึงพอใจมากขึ้น
จากค่าเฉลี่ยความพึงพอใจก่อนปรับกระบวนการหลังจากปรับกระบวนการแล้ว |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1704
|
Date:
|
2019-02-14 |