Title:
|
ความพึงพอใจของนักศึกษาและบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (5 ปี) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยปีการศึกษา 2557 |
Author:
|
บรรจง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริมณี; ไวยรูป, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพันธ์วดี; วสุโภคิน, อาจารย์ ดร.สุธากร; ศุภผลศิริ, อาจารย์ชมพูนุท
|
Abstract:
|
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาและบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่มีต่อหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (5ปี) โดยประเมินตามองค์ประกอบการประเมินหลักสูตร ได้แก่ ด้านบริบทด้านปัจจัยนาเข้ากระบวนการและผลผลิต แหล่งข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นนักศึกษาและบัณฑิตที่สาเร็จการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต(5 ปี) สาขาการศึกษาพุทธศักราช 2547และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต(5ปี) สาขาการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2552 จานวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test Independent การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การเปรียบเทียบพหุคุณโดยวิธี LSD.และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักศึกษาร้อยละ 40.91 และเป็นบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต(5ปี) สาขาการศึกษา พุทธศักราช 2547 และบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต(5ปี) สาขาการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2552ร้อยละ 59.09 ทางานเป็นครูสอนระดับอนุบาล/เด็กเล็กตรงกับสาขาวิชาที่สาเร็จการศึกษา ร้อยละ 52.27 และร้อยละ 88.46 ของยอดรวมบัณฑิตทั้งหมด มีรายได้ตรงตามวุฒิประมาณ 12,001 – 15,000 บาทต่อเดือน
2. ความพึงพอใจของนักศึกษาและบัณฑิตทั้ง 2 หลักสูตรที่มีต่อรายวิชาในหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ความพึงพอใจของนักศึกษาและบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรในด้านต่างๆในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านกิจกรรมในหลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจที่มีต่อความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติแสดงให้เห็นว่า ทั้งนักศึกษาและบัณฑิตต้องการให้หลักสูตรมีการปรับปรุงและพัฒนาโดยมีความต้องการให้มีการพัฒนาเจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ อาคาร
สถานที่และห้องเรียนเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการนักศึกษาสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์ที่ปรึกษา และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(1)
5. ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ
1) ด้านบริบท พบว่า มีข้อเสนอเกี่ยวกับการพัฒนารายวิชา เช่น การเพิ่มรายวิชาการเพิ่มเนื้อหาและความเข้มข้นในบางรายวิชา และการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยเน้นการปฏิบัติเพื่อการนาไปใช้ในการทางาน
2) ด้านปัจจัยนาเข้า พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากร เช่น ความพร้อมใช้ อัตราส่วนความต้องการ ความขาดแคลนสิ่งอานวยความสะดวก และสื่อประกอบการเรียน เช่น หนังสือ ตารา เอกสารประกอบการสอน
3) ด้านกระบวนการ พบว่า มีข้อเสนอแนะที่มีต่อการอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอน การจัดการเรียนการสอนและบุคลิกภาพที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ การนาเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาใช้ ความพร้อมในการสอน มนุษยสัมพันธ์ระหว่างครูและศิษย์ ระบบสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลและกิจกรรมให้เป็นปัจจุบัน รวดเร็วและทั่วถึง ความรู้ความเข้าใจทางวิชาการและกิจการนักศึกษาของเจ้าหน้าที่สนับสนุนวิชาการ ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/550
|
Date:
|
2018-09-20 |