DSpace About DSpace Software
 

Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561 >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1348

Title: วิถีชีวิตผู้สูงอายุยืนยาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
Authors: จันทาโภ, ดร.อัญชลี
กุสุมภ์, รองศาสตราจารย์วิจิตรา
กิตติโชติพาณิชย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญศรี
Issue Date: 23-Jan-2019
Series/Report no.: งานวิจัยปี 2561;
Abstract: งานวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตผู้สูงอายุยืนยาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิถีชีวิตผู้สูงอายุยืนยาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยในด้านภาวะสุขภาพ วิถีชีวิต และพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ ผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปใน 6 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุ จำนวนมากตามลำดับ คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ และอุดรธานี จังหวัดละ 10 คน รวม 60 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL Index) แบบประเมินสุขภาพ จิตผู้สูงอายุ T-GMHA-15 แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิถีชีวิตผู้สูงอายุยืนยาว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการจำแนกแยกประเภท ผลการ วิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้สูงอายุยืนยาว มีอายุ 80 – 104 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อาศัยอยู่กับบุตร-หลาน อดีตมีอาชีพทำนาทำสวนมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ร้อยละ 73.33 มี รายได้จากเบี้ยยังชีพ ที่รัฐบาลจ่าย ร้อยละ 97.00 รายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ร้อยละ 33.0 และ 38.9 เป็นความดัน โลหิตสูง นาน 3 - 30 ปี และ เป็นโรคเบาหวานมา 5 -20 ปีตามลำดับ ค่า BMI อยู่ระหว่าง 19.60 - 24.49 ซึ่งเป็นค่าปกติ ไม่มีภาวะอ้วน ร้อยละ 73.33 สามารถการประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ทุกข้อตามแบบประเมิน Barthel Activities of Daily Living: ADL ร้อยละ 66.67 มีสุขภาพจิต ดีกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 31.67 และ 76.67 มีการมองเห็น และการได้ยินที่ชัดเจน วิถีดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา อาศัยอยู่ในบ้านที่สะอาด สภาพแวดล้อมเหมาะสม มีบริเวณให้เดินออก กำลังกายได้รอบๆ บ้าน ปลูกต้นไม้ร่มรื่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชนมีความผูกพันกันดี ด้านจิตวิญญาณมีความเชื่อและปฏิบัติตามแนวทางศาสนา ทำบุญ ไหว้พระ สวดมนต์ ช่วยงานวัด อย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่รับประทานอาหาร ครบ 3 มื้อ เป็นอาหารปรุงสุกและ ปรุงเอง ประเภทผัก ลวก ผักต้ม เนื้อปลาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวร่างกายต่อเนื่อง เป็นเวลานานจากการทำงานที่ต้องใช้แรงกาย มีการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ด้วยการยอมรับ เข้าใจ พูดคุย ระบายกับลูกหลาน ไหว้พระ สวดมนต์ ทำบุญเป็นประจำ ทำให้ใจสบาย สำหรับการนอนหลับ ส่วนใหญ่นอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง หลับได้ดี
Description: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1348
Appears in Collections:แหล่งทุนภายนอก ปีงบประมาณ 2561

Files in This Item:

File Description SizeFormat
1. ปกรายงานการวิจัย.docxปก134.13 kBMicrosoft Word XMLView/Open
2. บทคัดย่อ (2).docxบทคัดย่อ26.81 kBMicrosoft Word XMLView/Open
3.กิตติกรรมประกาศ.docxกิตติกรรมประกาศ20.07 kBMicrosoft Word XMLView/Open
4.สารบัญ.docxสารบัญ24.93 kBMicrosoft Word XMLView/Open
5. บทที่ 1.docxบทที่148.65 kBMicrosoft Word XMLView/Open
6. บทที่ 2 ผู้สูงอายุยืนยาว.docxบทที่2124.35 kBMicrosoft Word XMLView/Open
7. บทที่ 3.docxบทที่333.26 kBMicrosoft Word XMLView/Open
8. บทที่ 4.docxบทที่415.92 MBMicrosoft Word XMLView/Open
9 บทที่ 5 สรุปผล.docxบทที่563.71 kBMicrosoft Word XMLView/Open
10 บรรณานุกรม ผู้สูงอายุยืนยาว.docxบรรณานุกรม39.04 kBMicrosoft Word XMLView/Open
11 .ภาคผนวก.docxภาคผนวก46.84 kBMicrosoft Word XMLView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

Valid XHTML 1.0! DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback