กลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและ บริโภค อย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

DSpace/Manakin Repository

กลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและ บริโภค อย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Show simple item record

dc.contributor.author เกษมสวัสดิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรีสุวรรณ
dc.contributor.author ชูอินทร์, รองศาสตราจารย์ศิวพันธุ์
dc.contributor.author แจ่มพงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์
dc.contributor.author วรชัยรุ่งเรือง, อาจารย์มรกต
dc.contributor.author ธนกุลวุฒิโรจน์, นางสาวกันยพัชร์
dc.contributor.author แซ่โง้ว, นายพรเพิ่ม
dc.date.accessioned 2019-01-23T02:23:34Z
dc.date.available 2019-01-23T02:23:34Z
dc.date.issued 2019-01-23
dc.identifier.other มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
dc.identifier.uri http://hdl.handle.net/123456789/1338
dc.description งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องกลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุโภคและบริโภคอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหากลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างฐานข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 โครงการย่อย ได้แก่ ความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำผิวดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุโภคและบริโภคในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ความต้องการของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุโภค บริโภคอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศแบบมีส่วนร่วมในการสร้างฐานข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนตุลาคม 2558 เดือนกรกฎาคม 2559 ผลการศึกษาพบว่าแหล่งน้ำในพื้นที่สวนมีคุณภาพดีกว่าในพื้นที่ชุมชน โดยพบว่าในพื้นที่สวนคุณภาพน้ำอยู่ในระดับดีร้อยละ 2.5 และพอใช้ร้อยละ 7.5 และพบคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมร้อยละ 90.0 ไม่พบระดับที่เสื่อมโทรมมาก ส่วนในพื้นที่ชุมชนคุณภาพน้ำอยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 5.6 พบคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมร้อยละ 91.7 และคุณภาพอยู่ในระดับเสื่อมโทรมมากร้อยละ 2.8 ไม่พบคุณภาพน้ำในระดับดี สำหรับภาพรวมพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนในอำเภออัมพวา พบว่า ประชาชนส่วนมาก (ร้อยละ 61.2) มีส่วนร่วมในระดับปานกลางทั้งนี้ผลจากการศึกษาพบว่าปัจจัยด้าน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภออัมพวา ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินและความตระหนักต่อปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินของประชาชนชาวอำเภออัมพวาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สำหรับปัญหาการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.33 และระดับความต้องการของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคบริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.02 ส่วนรูปแบบเชิงพื้นที่ของคุณภาพน้ำผิวดินในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตำบลที่มีแหล่งน้ำผิวดินที่ใช้อุปโภคบริโภคมากที่สุด คือ ตำบลท่าคา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและมีการกระจายตัวของพื้นที่ชุมชนหรือเขตที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น ส่วนพื้นที่เกษตรกรรมที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำแม่กลองและมีแหล่งท่องเที่ยวอาทิ เช่น ตลาดน้ำอัมพวา บ้านพักและรีสอร์ต รวมทั้งพื้นที่ดังกล่าว มีการกระจุกตัวของพื้นที่ชุมชนหรือเขตที่อยู่อาศัย ส่วนตำบลบางช้างเสื่อมโทรมมากกว่า พื้นที่อื่นๆ ในอำเภออัมพวา กลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามผลการประชุมกลุ่มย่อยโดยการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติดำเนินการโดยบำบัดโดยบ่อดักไขมันก่อน ทำแปลงพืชดูดซับน้ำเสียก่อน และนำไปรดต้นไม้แทนการทิ้งในแหล่งน้ำ ความต้องการของชุมชนในการจัดการน้ำผิวดินโดยทำเขื่อนกั้นขยะ ออกเทศบัญญัติแก่รีสอร์ท โฮมสเตรย์ สร้างการมีส่วนร่วม/ความ ตระหนัก และเก็บค่าใช้จ่ายในการปล่อยน้ำทิ้ง ปัญหาการใช้น้ำในชุมชนเกิดจากน้ำเค็มหนุน น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสีย น้ำไม่พอใช้ในฤดูแล้งและน้ำมีขยะแขวนลอยจำนวนมาก ชุมชนมีความต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำด้วยวิธีการสร้างองค์ความรู้เรื่องน้ำ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการและสร้างความตระหนัก/การมีส่วนร่วม ชุมชนมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยร่วมสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ขอความช่วยเหลือจากองค์กรที่ดูแลแหล่งน้ำมาตรวจคุณภาพน้ำ ไม่ทิ้งขยะต่างๆลงในแหล่งน้ำและสอดส่องปกป้องแหล่งน้ำของตนเอง วิธีการของชุมชนในการจัดการคุณภาพน้ำผิวดินให้เกิดความยั่งยืนโดยสร้างความตระหนัก การมีส่วนร่วม สร้างจิตอาสา ใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและกำหนดแหล่งการปล่อยมลพิษลงสู่แหล่งน้ำโดยใช้ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ th_TH
dc.description.sponsorship มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.relation.ispartofseries งานวิจัยปี2559;
dc.title กลยุทธ์การจัดการคุณภาพน้ำผิวดินเพื่อการอุปโภคและ บริโภค อย่างยั่งยืน ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม th_TH
dc.type Article th_TH


Files in this item

Files Size Format View Description
1. ปกชุด 6กย 59.docx 127.6Kb Microsoft Word 2007 View/Open ปก
2. กิตติกรรมประกาศชุด59.docx 15.02Kb Microsoft Word 2007 View/Open กิติกรรมประกาศ
3.บทคัดย่อ ชุด 59.docx 21.75Kb Microsoft Word 2007 View/Open บทคัดย่อ
4. Abstract ชุด 59.docx 19.80Kb Microsoft Word 2007 View/Open Abstract
6.สารบัญชุด 59 จริง.docx 26.16Kb Microsoft Word 2007 View/Open สารบัญ
5. สารบัญตารางชุด 59.docx 29.08Kb Microsoft Word 2007 View/Open สารบัญตาราง
14.สารบัญภาพชุด 59.docx 22.12Kb Microsoft Word 2007 View/Open สารบัญภาพ
7.บทที่ 1 ชุด2559.docx 67.82Kb Microsoft Word 2007 View/Open บทที่1
8.บทที่ 2ชุด59 แก้ไข.docx 213.0Kb Microsoft Word 2007 View/Open บทที่2
9.บทที่ 3 ชุด 59.docx 617.0Kb Microsoft Word 2007 View/Open บทที่3
10.บทที่ 4 ชุดที59แก้ไข.docx 618.7Kb Microsoft Word 2007 View/Open บทที่4
11.บทที่5ชุด59แก้ไข.docx 61.58Kb Microsoft Word 2007 View/Open บทที่5
12.บรรณานุกรมจริง11มิย.docx 39.11Kb Microsoft Word 2007 View/Open บรรณานุกรม
13.ประวัติผู้รับผิดชอบแผนงานวิจัย12มิย60.docx 62.66Kb Microsoft Word 2007 View/Open ประวัตินักวิจัย
15.บทความชุดกลยุทธ์59จริง.docx 395.0Kb Microsoft Word 2007 View/Open บทความ

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account