Abstract:
|
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์แนวพระราชดาริด้านการเรียนรู้ “ฉลาดรู้” ของ
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สู่การออกแบบการจัดการ
เรียนรู้ชุดวิชาพื้นฐานทางการศึกษาและการศึกษาแบบเรียนรวม และนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
แบบฉลาดรู้ไปใช้จัดการเรียนรู้ชุดวิชาพื้นฐานทางการศึกษาและการศึกษาแบบเรียนรวม ในภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 และเพื่อเผยแพร่รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฉลาดรู้ใน
ระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาการศึกษา
ปฐมวัย และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จานวน 115 คน วิธีวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ โดยเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากรายงานการประชุมออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบฉลาดรู้ การประเมินการเรียนรู้จากการ
จัดการเรียนรู้แบบฉลาดรู้ ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบฉลาดรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนของนักศึกษา ผลการวิจัยมีดังนี้
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบฉลาดรู้ในระดับอุดมศึกษามีขั้นตอน 5 ขั้น ขั้นที่ 1
เรียนรู้จากความรู้ความคิดและการปฏิบัติของผู้อื่น ขั้นที่ 2 เรียนรู้จากการขบคิดพิจารณาและ
ประมวลความรู้และสรุปความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ขั้นที่ 3 เรียนรู้จากการปฏิบัติฝึกฝนทดลองจน
ประจักษ์ผลและเกิดความคล่องแคล่วชานาญ ขั้นที่ 4 เรียนรู้จากการทวนสอบ การคิดวิเคราะห์ด้วย
ตนเองและจากการทางานร่วมกันเป็นทีม ขั้นที่ 5 เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปัน
ความรู้
2. การประเมินการจัดการเรียนรู้แบบฉลาดรู้ 5 ขั้น พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย
ประเมินการเรียนรู้ที่ได้รับในระดับมากที่สุดทั้ง 4 หน่วย ( X = 4.29, 4.30, 4.52 และ 4.40
ตามลาดับ) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยประเมินการเรียนรู้ที่ได้รับในระดับมากที่สุดจานวนหนึ่งหน่วย
คือหน่วยที่ 3 ( X = 4.39) ส่วนหน่วยที่ 1, 2 และ 4 ประเมินอยู่ในระดับมาก ( X = 4.04, 4.10,
และ 3.89 ตามลาดับ) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประเมินการเรียนรู้ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุดจานวน
สองหน่วย คือหน่วยที่ 1 และ 2 ( X = 4.29 และ 4.30) ส่วนหน่วยที่ 3และ 4 ประเมินอยู่ในระดับ
มาก ( X = 4.18 และ 3.96)
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบฉลาดรู้ 5 ขั้น พบว่า นักศึกษาสาขาวิชา
ภาษาไทยพึงพอใจระดับมากที่สุดทั้ง 4 หน่วย ( X = 4.26, 4.26, 4.46 และ 4.59 ตามลาดับ) ส่วน
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยพึงพอใจระดับมากที่สุดในหน่วยที่ 3 ( X = 4.54) ส่วนหน่วยที่ 1, 2 และ
4 พึงพอใจระดับมาก ( X = 4.08, 4.03, และ 3.93 ตามลาดับ) สาขาวิชาคณิตศาสตร์พึงพอใจ
ระดับมากที่สุดในหน่วยที่ 1 ( X = 4.26) ส่วนหน่วยที่ 2, 3 และ 4 พึงพอใจระดับมาก ( X = 4.03,
4.16 และ 4.07 ตามลาดับ)
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยมีผลคะแนนอยู่ในระดับดี
มากร้อยละ 32 และระดับดีเยี่ยมร้อยละ 30 นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมีผลคะแนนอยู่ในระดับดีเยี่ยมร้อยละ 97 ส่วนนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์มีผลคะแนนอยู่ในระดับดีมากร้อยละ
61.29 และระดับดีเยี่ยมร้อยละ 32.26
www |