dc.contributor.author |
สังขมณี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-20T06:46:17Z |
|
dc.date.available |
2018-09-20T06:46:17Z |
|
dc.date.issued |
2018-09-20 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/564 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาลัย ปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
จขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจเนื่องจากการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เพื่อศึกษาความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในมิติของการบรรเทาความยากจนของแรงงาน และเพื่อสร้างทางเลือกในการลดผลกระทบการมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่เท่ากันทั้งประเทศ โดยใช้พื้นที่วิจัยในเขต 7 จังหวัดประกอบด้วยกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าจาก 13 ประเภทกิจการ รวม 400 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ใช้พนักงานลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นคนไทย รองลงไปเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ สำหรับกรณีที่รัฐบาลประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 กิจการส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบปานกลาง สามารถปรับตัวได้โดยแทบไม่ลดจำนวนลูกจ้างพนักงาน สิ่งที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือส่วนใหญ่คือด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้มีเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกิจการและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลงกว่าเดิม และด้านภาษีที่ต้องการให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 14 ราย พบว่าการจัดการปัญหาด้านค่าแรงงานขั้นต่ำ กิจการส่วนใหญ่จึงต้องใช้แรงงานต่างชาติชาวเมียนมาร์เพราะหาง่ายกว่าแรงงานต่างชาติอื่นทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการบริหารงาน ส่วนแรงงานมีฝีมือ มีประสบการณ์สูงมักเป็นแรงงานชาวไทย มักจ่ายตามความสามารถ ประสบการณ์ ความซื่อสัตย์และจงรักภักดีกับกิจการ และจะพยายามจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานให้ได้มากที่สุด ในอัตราที่ใกล้เคียงกับผู้ประกอบการรายอื่น ผลจากการมีนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเท่ากันทั้งประเทศพบว่าทำให้ต้นทุนโดยรวมเพิ่มขึ้น ทำให้เกือบทุกกิจการต้องเลี่ยงไปใช้แรงงานต่างชาติซึ่งมีทั้งต้องปรับตัวเข้าหากัน ส่งผลให้ทุกกิจการต้องทำการปรับตัวให้เข้าได้กับภาวะการเปลี่ยนแปลงในหลายรูปแบบที่ต่อเนื่องจากกฎหมายค่าแรงงานขั้นต่ำ และผู้ให้สัมภาษณ์ทุกรายเห็นว่าไม่เหมาะสมแต่ควรรีบปรับปรุงให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สะท้อนภาวะการทำธุรกิจที่แท้จริงของที่ตั้งกิจการ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี2558; |
|
dc.title |
ผลกระทบทางเศรษฐกิจเนื่องจากการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |