Title:
|
แนวทางการสร้างสรรค์เพลงเสมอตามสภาพของตัวละคร |
Author:
|
โพธิเวชกุล, รองศาสตราจารย์สุภาวดี
|
Abstract:
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มา โอกาสการใช้เพลงเสมอประกอบการแสดงละครราของไทยวิธีการราเพลงเสมอตามสภาพของตัวละครและแนวทางการสร้างสรรค์เพลงเสมอตามสภาพตัวละครที่สืบทอดและสร้างสรรค์โดยศิลปินกรมศิลปากร และยังคงนาออกแสดงเผยแพร่อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบันโดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และจากประสบการณ์ของผู้วิจัยที่ได้สอนและเกี่ยวข้องกับการแสดงมากว่า 30 ปี ผลการวิจัยพบว่า เพลงเสมอ เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่มีขนาดสั้น ใช้หน้าทับเฉพาะโดยทั่วไปแล้วมี 9 จังหวะ ที่เรียกกันว่าไม้เดิน 5 ไม้ลา 4 ต่อด้วยเพลงรัว มีอยู่ 2 ประเภท คือ เสมอไทย และเสมอภาษาที่มีทั้งหมด 5 เพลง คือเสมอมอญเสมอพม่า เสมอลาว เสมอแขก และ เสมอชวา นามาใช้อยู่ 2 ทาง คือ ทางดนตรีไทย และทางการแสดงละครใช้ประกอบกิริยาเดินทางในระยะใกล้ องค์ประกอบในการรา ได้แก่ เครื่องแต่งกายใน แบบยืนเครื่องและแบบตามเชื้อชาติ เครื่องดนตรีประเภทปี่พาทย์และเพิ่มเครื่องภาษาสาหรับเพลงเสมอตามเชื้อชาติ ในด้านการสร้างสรรค์ท่ารามี 4 ส่วน ได้แก่ 1).ส่วนทิศทาง หมายถึง การราในทิศทางต่างๆ และการหมุนตัว 2).ส่วนท่ารามี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่1 การใช้ท่านาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วยการใช้แม่ท่าในเพลงแม่บท การเลือกใช้ท่ามือแบบนาฏศิลป์ไทย 2 ท่ามารวมเป็นท่ารา1ท่า และการใช้เครื่องแต่งกายประกอบท่ารา ลักษณะที่ 2 การใช้ท่านาฏศิลป์ของชาติที่เกี่ยวข้อง 3).ส่วนการใช้ร่างกายแบบนาฏศิลป์ไทย แต่ถ้าเป็นการราเสมอภาษาให้เพิ่มการโย้ตัว ตีไหล่ การถ่ายน้าหนักตัว เพื่อยักเยื้องให้ท่าราไทยเป็นท่าออกภาษาสาหรับตัวละครเชื้อชาติต่างๆ และ 4).ส่วนสาคัญที่สุดของการราเพลงเสมอคือการคานึงถึงจังหวะไม้เดินและไม้ลาอย่างเคร่งครัด
การสร้างสรรค์เพลงเสมอนับเป็นการสร้างสิ่งใหม่อย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นในงานนาฏศิลป์ไทย ดังนั้นแนวการสร้างสรรค์เพลงเสมอน่าจะเป็นแนวทางให้เกิดการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์รูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความก้าวหน้าให้กับวงการนาฏศิลป์ได้อีกทางหนึ่ง |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2558มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/572
|
Date:
|
2018-09-20 |