dc.contributor.author |
ครูเกษตร, ดร.ปรีชญา |
|
dc.date.accessioned |
2018-09-24T09:15:11Z |
|
dc.date.available |
2018-09-24T09:15:11Z |
|
dc.date.issued |
2018-09-24 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/630 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
ยารักษาโรคเป็นปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยยา
รักษาโรคในการรักษาโรคประจำตัวต่างๆ จากปัญหาในการเสื่อมถอยตามอายุขัยที่มากขึ้นของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้ยามากกว่ากลุ่มประชากรวัยอื่น เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีโรคเรื้อรัง ทำให้
มีโอกาสรักษากับแพทย์หลายคนและได้รับยาหลายชนิด ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มยา
รักษาโรคประจำตัว อาทิ ยาลดความดันโลหิต กลุ่มยานอนหลับและยาคลายกังวล กลุ่มยาแก้ปวดและยา
คลายกล้ามเนื้อ กลุ่มยาวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร ดังนั้นการใช้ยาในผู้สูงอายุอาจทำให้เกิดผล
ข้างเคียงได้ง่าย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามวัย นอกจากนั้นผู้สูงอายุซึ่งมีปัญหาด้าน
สายตา และความจำยังมีความเสี่ยงที่จะใช้ยาผิดได้มากอีกด้วย ซึ่งมักเกิดจากบรรจุภัณฑ์หรือซองยาที่มี
ลักษณะเหมือนกันและคล้ายคลึงกัน อาจทำให้เกิดความสับสนและอาจเกิดความผิดพลาดในการใช้ยาได้
บางกรณีอาจได้รับอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ดังน้นั นกั ออกแบบจะต้องคิดค้นรปู แบบของบรรจภุ ัณฑ ์ โดย
อาศัยหลักการพื้นฐานของการออกแบบ โดยเฉพาะการใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์กราฟิก และจิตวิทยาสีที่มี
ผลต่อการรับรู้และความเข้าใจของผู้สูงอายุ ที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการใช้ยา ได้แก่ ชนิด
ของยา คุณสมบัติของตัวยาจำนวน และเวลาในการใช้ยา วิธีการใช้ยา (ที่นอกเหนือจากการรบั ประทาน) ที่
มีผลต่อการรับรู้ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุด้านการรับรู้และเข้าใจต่อสัญลักษณ์กราฟิก และ
จิตวิทยาสี ศึกษาปัจจัยด้านสัญลักษณ์กราฟิก และจิตวิทยาสี ที่มีผลต่อการรับรู้และความเข้าใจของ
ผู้สูงอายุ เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิก และจิตวิทยาสีที่มีผลต่อการรับรู้และความ
เข้าใจของผู้สูงอายุ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบบนบรรจุภัณฑ์ยา
จากผลการศึกษาปัจจัยด้านสัญลักษณ์กราฟิก และจิตวิทยาสีบนบรรจุภัณฑ์ ที่มีผลต่อการรับรู้
และความเข้าใจของผู้สูงอายุ เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิก และจิตวิทยาสี เพื่อ
นำมาใช้ในการออกแบบบนบรรจุภัณฑ์ยานั้น พบว่าปัจจัยด้านการออกแบบ เกี่ยวกับสีของกราฟิกที่ใช้ควร
มีสีสัน ทำให้ผู้สูงอายุสามารถรับรู้ได้ ก่อให้เกิดความสวยงาม และช่วยทำให้เกิดความสะดุดตา เห็นได้
ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่วนภาพกราฟิกต้องมีขนาดใหญ่ หรือไม่น้อยกว่าขนาด 0.70x0.70 นิ้ว เพื่อบ่งบอกถึง
ประเภทและประโยชน์ใช้สอยของยานั้นๆ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุสามารถแยกแยะประเภทของยาได้ และไม่
ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุ ลักษณะของภาพที่สื่อใหผู้้สูงอายุรับรู้ได ้ควรอยู่ในรปู แบบ 3 มิติ เพื่อความ
ใกล้เคียงกับภาพของจริงมากที่สุด มีการออกแบบให้สะดุดตา มีจุดเด่นก่อให้เกิดการจดจำได้ชัดเจน ส่วน
ความซับซ้อนของภาพกราฟิก ควรมีรายละเอียดมาก กล่าวคือ มีทั้งภาพและตัวหนังสือ เพื่อขยาย
ความหมายของภาพ และสื่อได้ชัดเจนเพิ่มมากขึ้นกว่าการใช้ภาพเพียงอย่างเดียว |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี2559; |
|
dc.title |
การศึกษาการออกแบบสัญลักษณ์กราฟิก และจิตวิทยาสีที่มีผลต่อการรับรู้ และความเข้าใจของผู้สูงอายุ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบบนบรรจุภัณฑ์ยา |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |