dc.contributor.author |
โตระสะ, อาจารย์ ดร.ชนมภัทร |
|
dc.contributor.author |
เมฆขำ, รศ.ดร.วิทยา |
|
dc.contributor.author |
นวลมีศรี, อาจารย์ ดร.สุมิตรา |
|
dc.contributor.author |
สิทธิสม, อาจารย์ ดร.วลีรักษ์ |
|
dc.contributor.author |
เสริมศรี, ดร.ณิชานันทน์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-01-24T09:23:34Z |
|
dc.date.available |
2019-01-24T09:23:34Z |
|
dc.date.issued |
2019-01-24 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1410 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการในจังหวัดระนอง ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสำรวจและการประชุมกลุ่มย่อย เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดระนอง จำนวน 400 คน การสัมภาษณ์จำนวน 10 คน การวิเคราะห์และสถิติที่ใช้ในการวิจัยลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) แล้วแปลความหมายเพื่อจัดระดับเพื่อให้เข้าใจถึงบริบทและแนวทางการพัฒนา โดยใช้การพรรณาแล้วนำเสนอเป็นรายข้อ ผลการวิจัย พบว่า
ความพึงพอใจด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.00 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ คือ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าประทับใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 รองลงมา มีความหลากกลายของกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ความพึงพอใจด้านเส้นทางคมนาคมขนส่งเข้าถึง โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.01 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับมาก ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.25 ซึ่งจัดอยู่ในความพึงพอใจระดับปานกลาง ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั้ง 5 อำเภอในจังหวัดระนอง โดยรวมให้ความเห็นว่า จังหวัดระนองมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสูง เนื่องจากมีบ่อน้ำแร่ร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีกลินกำมะถันเจือปน สามารถใช้อาบและรักษาโรคได้ ซึ่งมีบ่อน้ำแร่ร้อนรักษะวาริน มีกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ การแช่ตัว แช่เท้า โยคะ ลานร้อน ออกกำลังกาย แต่มีที่จอดรถไม่เพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวมากเกินไป ควรมีการเก็บค่าใช้จ่าย เพื่อนำเงินไปพัฒนาต่อไป นอกจากนั้นยังมีร้านอาหารเพื่อสุขภาพจะเห็นว่าตัวผลิตภัณฑ์ส่วน ใหญ่จะมาจากวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในชุมชนท้องถิ่น ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาเดิมทำมาพัฒนาและสรรค์สร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ ยังขาดความรู้ ความชำนาญด้านการออกแบบและพัฒนาสินค้า ยังพึ่งพาให้หน่วยงานภาครัฐช่วยส่งเสริมผลักดันและประชาสัมพันธ์ให้ ซึ่งทุกธุรกิจกลุ่มเป้าหมายสนใจ สื่อออนไลน์ ในการช่วยส่งเสริมการขาย ด้านศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดระนอง ผลการศึกษาพบว่า ควรจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โบราณสถาน-วัตถุ และการรักษามรดกวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ตำบล หงาว ในจังหวัดระนองมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามมีชื่อเสียง มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่มีชื่อเสียงอันดับโลก |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.subject |
รูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยว, เชิงสุขภาพในจังหวัดระนอง |
th_TH |
dc.title |
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดระนอง |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |