Title:
|
การประเมินความสำเร็จของกลุ่ม OTOP ที่น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในจังหวัดนนทบุรี |
Author:
|
ศรีมารุต, อาจารย์ ธรรมรักษ์
|
Abstract:
|
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสำเร็จของกลุ่ม OTOP ที่น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในจังหวัดนนทบุรี โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนนทบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์และสถิติที่ใช้ในการวิจัยลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) แล้วแปลความหมายเพื่อจัดระดับเพื่อให้เข้าใจถึงบริบทและแนวทางการพัฒนา โดยใช้การพรรณาแล้วนำเสนอเป็นรายข้อผลการวิจัยพบว่า
การวิเคราะห์ความรู้ ความเข้าใจด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้ในการดำเนินชีวิตพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้ในการดำเนินชีวิต ความรู้ ความเข้าใจด้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้ในการดำเนินชีวิต โดยภาพรวม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.70 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ได้คะแนนร้อยละ 91.27 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้มาก ได้คะแนนเท่ากับหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 86.72 และมีความรู้น้อยได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 13.28 การวิเคราะห์กลุ่ม OTOP ที่น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามตัวชี้วัด 6x2 พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 3.55) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 3 รายการ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเพิ่มรายได้ ( = 4.07)
การวิเคราะห์กลุ่ม OTOP ที่น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามตัวชี้วัด 3x2 พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 รายการ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความพอประมาณ ( = 3.92) รองมาคือ ด้านการมีคุณธรรม ( = 3.88) และอยู่ในระดับปานกลางมี 3 รายการ คือ ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ( = 3.29) ด้านความมีเหตุผล ( = 3.13) และด้านการมีความรู้ ( = 2.55) ตามลำดับ
กลุ่มอาชีพสหกรณ์สุเหร่าแดงท่าอิฐมีจุดแข็ง พบว่า มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี มีกำลังในการผลิต มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ มีความสามารถจัดหาวัตถุดิบได้ราคาถูก มีการติดต่อสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า จุดอ่อนพบว่า ไม่มีตราสินค้า ไม่มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ไม่สวยงาม ขาดการนำเสนอเรื่องราวผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม่โดดเด่น ขาดแบรนด์สินค้า / ตราสัญลักษณ์ รูปแบบของบรรจุภัณฑ์เป็นแบบธรรมดา เช่น ถุงพลาสติก ผลิตสินค้าหลากหลาย เน้นปริมาณไม่เน้นคุณภาพ และขาดเงินทุนในการดำเนินการ ไม่มีแผนเพิ่มลูกค้าใหม่ไม่มีความรู้และทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ขาดมาตรฐาน ขาดเทคโนโลยีในด้านการผลิต ขาดเงินทุนในการประชาสัมพันธ์ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีจำนวนมาก การส่งเสริมด้านการตลาดของรัฐบาลที่จัดให้มีจำนวนจำกัดทำให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการที่ได้ร่วมจำหน่ายไม่ทั่วถึงกัน ไม่มีการจัดทำบัญชี ขาดเทคโนโลยีด้านการผลิต ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ส่วนหนึ่งทำเป็นอาชีพเสริมไม่ได้ดำเนินการพัฒนาทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1412
|
Date:
|
2019-01-24 |