การพัฒนาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DSpace/Manakin Repository

การพัฒนาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Show simple item record

dc.contributor.author น้อยจันทร์, นันทิยา
dc.date.accessioned 2019-03-15T04:46:27Z
dc.date.available 2019-03-15T04:46:27Z
dc.date.issued 2019-03-15
dc.identifier.other มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
dc.identifier.uri http://hdl.handle.net/123456789/1759
dc.description งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทาง การศึกษาของ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบและมาตรส่วนประมาณค่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่น .931 และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของ นักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวนสูงสุดของผู้ตอบ แบบสอบถาม มีดังนี้ สาขาวิชาที่เรียนมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาลักษณะเรียนแทน บทเรียนปกติ e-learning มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ชนิดของ อุปกรณ์ที่ใช้งาน เป็น Notebook และจำนวนชั่วโมงในการใช้งานเครือข่าย 6-10 ชั่วโมง 1. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับพฤติกรรมสูงสุด ได้แก่ ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมา ด้านการสืบค้นข้อมูล และด้านการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก ส่วนระดับพฤติกรรม น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ เมื่อพิจารณารายข้อ ระดับพฤติกรรมสูงสุด ได้แก่ การใช้อีเมล์ เฟสบุ๊ค เว็บไซด์ อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับพฤติกรรมน้อยที่สุด ได้แก่ การนำเสนองาน โดยใช้โปรแกรม Flip Album อยู่ในระดับมาก 2. การพัฒนาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ด้านการสืบค้นข้อมูล ด้านการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ และด้านดิจิตอลเพื่อการเรียนรู้ มีแนวทางในการพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1) สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 2) ฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 3) สร้างความตระหนักถึงข้อดีและข้อจำกัดของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 4) การควบคุม กำกับติดตาม ชี้แนะ และเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิตอลให้กับนักศึกษา 5) ประเมินประโยชน์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา th_TH
dc.description.sponsorship มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.relation.ispartofseries งานวิจัยปี 2561;
dc.title การพัฒนาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา th_TH
dc.type Article th_TH


Files in this item

Files Size Format View Description
100 ปกนอก.pdf 40.49Kb PDF View/Open ปกนอก
101 ปกใน.pdf 26.20Kb PDF View/Open ปกใน
102 บทคัดย่อ.pdf 50.54Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
103 กิตติกรรมประกาศ.pdf 46.13Kb PDF View/Open กิตติกรรมประกาศ
104 สารบัญ.pdf 74.17Kb PDF View/Open สารบัญ
105 สารบัญตาราง.pdf 50.5Kb PDF View/Open สารบัญตาราง
111บทที่ 1 ICT.pdf 60.78Kb PDF View/Open บทที่1
112บทที่ 2 ICT.pdf 141.0Kb PDF View/Open บทที่2
113 บทที่ 3 ICT.pdf 85.64Kb PDF View/Open บทที่3
114 บทที่ 4 ICT.pdf 155.1Kb PDF View/Open บทที่4
115 บทที่5 ICT.pdf 97.36Kb PDF View/Open บทที่5
120 บรรณานุกรมICT.pdf 72.43Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
121 ภาคผนวก.pdf 153.7Kb PDF View/Open ภาคผนวก
123 มคอ.3 วิชาเทคโน(นันทิยา) .pdf 192.8Kb PDF View/Open มคอ.3
124 ประวัติผู้วิจัย .pdf 51.93Kb PDF View/Open ประวัตินักวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account