แนวทางการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสัมภาษณ์งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสาหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DSpace/Manakin Repository

แนวทางการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสัมภาษณ์งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสาหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Show full item record

Title: แนวทางการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสัมภาษณ์งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสาหรับนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Author: โพธิ์พันธุ์, กมลลักษณ์
Abstract: ปลายปี พ.ศ 2558 “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) จะเริ่มเปิด AEC อย่างเป็นทางการ ตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กาหนดให้จัดทาข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพหรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียน การเคลื่อนย้ายแรงงานดังกล่าวเป็นการเคลื่อนย้ายเฉพาะแรงงานฝีมือและจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กาหนดไว้ในข้อตกลง MRAs ของอาเซียน การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีนั้นจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) นั่นเอง ด้วยเหตุนี้อาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบสาหรับแรงงานของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการในประเทศไทยด้วยความเสียเปรียบด้านทักษะของการใช้ภาษาต่างประเทศ และภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาทางการและภาษาสากลที่ทั่วโลกยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปที่ใด คุณจะพบคาศัพท์ภาษาอังกฤษในทุกๆ ที่ เช่น ป้ายบอกทาง ข่าว โฆษณา อินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสถานที่ท่องเที่ยว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชุดความรู้สาหรับพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ เพื่อการสอบสัมภาษณ์งานและเพิ่มโอกาสในการได้งานทาในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเพื่อทดลองใช้และประเมินผลสัมฤทธิ์ของชุดความรู้ที่พัฒนาขึ้นในการพัฒนาภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นแบบทดลองก่อนสอนและหลังสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จานวน 50 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เวลาทั้งหมด 5 วัน รวม 40 ชั่วโมง
Description: งานวิจัยงบประมาณมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/699
Date: 2018-09-26


Files in this item

Files Size Format View Description
ird_200_59.pdf 112.3Kb PDF View/Open ปก
ird_200_59 (1).pdf 86.35Kb PDF View/Open
ird_200_59 (2).pdf 41.02Kb PDF View/Open
ird_200_59 (3).pdf 76.99Kb PDF View/Open
ird_200_59 (4).pdf 104.0Kb PDF View/Open
ird_200_59 (5).pdf 794.1Kb PDF View/Open
ird_200_59 (6).pdf 96.81Kb PDF View/Open
ird_200_59 (7).pdf 146.6Kb PDF View/Open
ird_200_59 (8).pdf 88.66Kb PDF View/Open
ird_200_59 (9).pdf 72.06Kb PDF View/Open
ird_200_59 (10).pdf 1.921Mb PDF View/Open
ird_200_59 (11).pdf 43.66Kb PDF View/Open

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account