dc.contributor.author |
จันดา, คัทลิยา |
|
dc.date.accessioned |
2018-11-21T05:15:56Z |
|
dc.date.available |
2018-11-21T05:15:56Z |
|
dc.date.issued |
2018-11-21 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/979 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
โรงเรียนในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เขตพื้นที่การศึกษานครนายก เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีความทุรกันดาร มีปัญหาด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ เยาวชนในวัยเรียนขาดโอกาสในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ขาดโอกาสทางการศึกษา ส่งผลต่อปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจมากมาย การวิจัยครั้งนี้มุ่งแก้ปัญหาการศึกษาโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เขตพื้นที่การศึกษานครนายก ด้วยการพัฒนาครูเพื่อให้ครูไปพัฒนาการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือนักเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในแก่เยาวชนในพื้นที่
กิจกรรมการวิจัยเริ่มจากการฝึกอบรมครูประจำการ โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เขตพื้นที่การศึกษานครนายก เพื่อเพิ่มโลกทัศน์ และความรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับภารกิจของครูในการปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่ครูสังกัด การฝึกอบรมแบ่งเป็น 4 เรื่องคือ การปฏิรูปการเรียนรู้และการบูรณาการการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และการเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการตามสภาพจริง รวมถึงการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การฝึกอบรมครั้งนี้มีครูประจำการสมัครเข้ารับการอบรม จำนวน 154 คน มาจาก 22 โรงเรียน ใน 4 อำเภอของจังหวัดนครนายก
ในเนื้อหาของการฝึกอบรมครูประจำการส่วนใหญ่พอใจกับเนื้อหาสาระของการฝึกอบรมและวิทยากรที่ให้ความรู้ในเนื้อหาการฝึกอบรม หลังการฝึกอบรมได้มีการทดสอบความรู้ด้วยแบบทดสอบ พบว่า ครูประจำการส่วนใหญ่ได้คะแนนเกินกว่าร้อยละ 75 จึงสรุปได้ว่าหลังการฝึกอบรมครูประจำการได้รับความรู้อย่างดี หลังการฝึกอบรมครูประจำการที่เข้าร่วมโครงการจะต้องกลับไปเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเลือกรูปแบบการบูรณาการใน 2 รูปแบบคือ การเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการภายในวิชา และการเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชา โดยยึดสภาพจริงที่ครูปฏิบัติภารกิจด้านการสอนในโรงเรียนที่ได้รับมอบหมาย
ภายหลังการฝึกอบรม 2 สัปดาห์ คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อพูดคุยติดตามผลการเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการของครูประจำการในโรงเรียนที่ครูประจำการสังกัด ผลการพูดคุยติดตามผลพบว่าการเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการของครูประจำการเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งผลงานการเขียนแผนการสอนแบบบูรณาการของครูประจำการเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มครูประจำการที่เขียนแผนการสอนแบบบูรณาการเสร็จสมบูรณ์ แต่ยังมีความกังวลเรื่องความถูกต้องและความสอดคล้องของแผนการสอน กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูประจำการที่เขียนแผนการสอนมีความก้าวหน้าไปมาก โดยมีข้อกังวล ข้อสงสัย และมีความไม่มั่นใจในบางเรื่อง ทำให้ไม่กล้าลงรายละเอียด และกลุ่มที่ 3 ผลงานการเขียนแผนการสอนมีความก้าวหน้าน้อย มีความไม่มั่นใจในหลายเรื่อง และมีภารกิจการสอนที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียนมากทำให้ผลงานการเขียนแผนการสอนมีความก้าวหน้าน้อย การพูดคุยติดตามผลของคณะนักวิจัย ทำให้ครูประจำการมีความมุ่งมั่นที่จะเขียนแผนการสอนให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว
ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการทดลองสอนของครูประจำการที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผลการเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่ได้คะแนนเกินกว่าร้อยละ 50 มากกว่าคะแนนที่ครูประจำการเคยใช้สอนปกติ นอกจากนี้ครูประจำการยังประเมินว่านักเรียนมีความสุข สนุกกับการเรียน และให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างดี เมื่อสอบถามนักเรียนที่เรียนกับครูประจำการที่ใช้วิธีการสอนดังกล่าว พบว่านักเรียนมีความสนุกได้ความรู้อยากเรียนรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำได้เป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนในพื้นที่ |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2560; |
|
dc.subject |
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง , การเรียนการสอนแบบบูรณาการ |
th_TH |
dc.title |
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ของครูประจำการ โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เขตพื้นที่การศึกษานครนายก |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |