dc.contributor.author |
ปราณี, นางสาวสุพัตรา |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-03T08:49:00Z |
|
dc.date.available |
2018-12-03T08:49:00Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-03 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1111 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาเรื่อง รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยว (OTOP village champion : OVC) ที่เหมาะสมของจังหวัดระนอง การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างโดยอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่า 1) นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 - 30 ปี สถานภาพสมรส ประกอบอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท 2) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง โดยภาพรวม ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่การจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ อยู่ในระดับมาก 3) นักท่องเที่ยวเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ด้านการส่งเสริมการขาย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักท่องเที่ยวที่มีสถานภาพสมรสต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง โดยภาพรวม ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการขาย แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ด้านการส่งเสริมการขาย แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) นักท่องเที่ยวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดระนอง ด้านสถานที่การจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.subject |
การตัดสินใจเลือกซื้อ / สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) |
th_TH |
dc.title |
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชน ของหมู่บ้านท่องเที่ยว (OTOP village champion : OVC) ที่เหมาะสมของจังหวัดระนอง |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |