dc.contributor.author |
ศรีจินดา, ผศ.ดร.ประกายกาวิล |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-14T06:39:40Z |
|
dc.date.available |
2018-12-14T06:39:40Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-14 |
|
dc.identifier.other |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1222 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยเรื่อง “เครื่องมือการสื่อสารการตลาดต้นแบบสำหรับสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอล กลุ่มเด็กเยาวชน และครอบครัว เพื่อการแข่งขันในประชาคมอาเซียน” ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด และเครื่องมือสื่อสารการตลาดของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลช่องสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด และเครื่องมือสื่อสารการตลาดของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว กับสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลประเภท ข่าวสาร และวาไรตี้ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการสื่อสารการตลาดที่เหมาะสมและเป็นต้นแบบสำหรับสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลช่องสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวเพื่อการแข่งขันในประชาคมอาเซียน มีการกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 3 ประเภท คือ การวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ (Document Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) และ การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview)
ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด และเครื่องมือสื่อสารการตลาดของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลช่องสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว จากกลุ่มเป้าหมายนั้น ชื่นชอบที่จะรับชมรายการเนื่องจากมีหลายรายการที่มีสาระและน่าสนใจ และรายการการ์ตูนสำหรับเด็ก รวมถึงมีความสนใจในเครื่องมือการสื่อสารการตลาด หลัก ๆ อยู่ 5 เครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็น การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) การสื่อสารการตลาดผ่านกิจกรรม (Event Marketing) การโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) และการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) นั้นหากผู้ประกอบการรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล สถานีเด็ก เยาวชนและครอบครัว จะยึดพื้นที่ในการแข่งขันในประชาคมอาเซียนให้ได้ จะต้องใช้พลังในการพัฒนาเนื้อหา รูปแบบรายการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลสามารถเข้าถึงและจุงใจกลุ่มเป้าหมายได้ เพื่อให้สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอล กลุ่มเด็กเยาวชน และครอบครัว สามารถแข่งขันได้ในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยื่นต่อไป |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.title |
เครื่องมือการสื่อสารการตลาดต้นแบบสำหรับสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอล กลุ่มเด็กเยาวชน และครอบครัว เพื่อการแข่งขันในประชาคมอาเซียน |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |