กลยุทธ์การสร้างธุรกิจ M-Commerce เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย สินค้าวิสาหกิจชุมชน อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

DSpace/Manakin Repository

กลยุทธ์การสร้างธุรกิจ M-Commerce เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย สินค้าวิสาหกิจชุมชน อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Show full item record

Title: กลยุทธ์การสร้างธุรกิจ M-Commerce เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย สินค้าวิสาหกิจชุมชน อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
Author: ด่านไทยนำ, นางสาวดวงรัตน์
Abstract: กลยุทธ์การสร้างธุรกิจ M-Commerce เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจาหน่าย สินค้าวิสาหกิจชุมชน อาเภอบ้านดุง มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อรวบรวมข้อมูลและสร้างระบบฐานข้อมูลสินค้าวิสาหกิจชุมชน อาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีในรูปแบบดิจิตอล 2)เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาระบบการค้าบนมือถือ M-Commerce แก่วิสาหกิจชุมชนอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อออกแบบสื่อการค้าบนมือถือ M-Commerce ให้กับผลิตภัณฑ์ในวิสาหกิจชุมชนอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีที่สามารถนามาใช้เพิ่มช่องทางการาจัดจาหน่ายสินค้าสู่ตลาดอาเซีย 4) เพื่อประเมินผลระดับความพึงพอใจการใช้สื่อการค้าออนไลน์บนมือถือ M-Commerce ต่อสินค้าวิสาหกิจชุมชนอาเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านภาพลักษณ์ชุมชนบ้านดุง จ.อุดรธานี รูปแบบภูมิปัญญาพื้นถิ่น สินค้าหัตถกรรมวิสาหกิจชุมชนอาเภอบ้านดุง มีอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาที่น่าสนใจ หลากหลาย อาทิ 1) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหมลายขิดบ้านศรีชมชี่น 2)กลุ่มผ้าทอย้อมสีจากธรรมชาติ คือ คราม นอกจากนี้ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ด้านลวดลาย 3)ผ้าฝ้ายมัดหมี่การทอผ้าฝ้ายมัดหมีมีการสืบทอดมาจากวัฒนธรรมประเพณีจนถึงลูกหลานปัจจุบัน เนื่องจากหลังฤดูเก็บเกี่ยวผู้หญิงจะใช้เวลาว่างไปปลูกฝ้าย นาฝ้ายมาทอผ้าไว้ใช้เองในครัวเรือน และใช้เป็นของ ฝากญาติผู้ใหญ่ในเทศกาลต่างๆ เช่น ทอเป็นผ้ามัดหมี (สาหรับสุภาพสตรี) และผ้าโสร่ง (สาหรับสุภาพบุรุษ) โดยวัตถุดิบที่ใช้ก็จัดหาขึ้นเองในท้องถิ่น เริมตังแต่การปลูกฝ้าย การเก็บฝ้ายมาดีด แล้วเข็นเป็น เส้นด้าย นามาย้อมตามสีที่ต้องการและทอเป็นผลิตภัณฑ์ตามต้องการ ทาอย่างนี่ทุกยุคทุกสมัยจนถึง ปัจจุบัน นอกจากทาใช้เองและเป็นของฝากแล้วยังทาเพื่อจาหน่ายด้วย ซึ่งกลุ่มทอผ้ามัดหมี บ้านคาม่วง ก็ได้สืบทอดวัฒนธรรมมาจากปู่ย่า - ตายาย ในการผลิต จึงได้รวมกลุ่มกันผลิตฝ้ายมัดหมี ซึ่งทอ ด้วยมือและคิดค้นพัฒนาสร้างลวดลายขืนในกลุ่ม นาผลิตภัณฑ์จาหน่ายให้ชุมชนและนอกชุมชนจากอดีต จนถึงปัจจุบัน การออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่นบ้านดุง คือ การส่งเสริมการผลิตและการประยุกต์ใช้ศิลปะพื้นบ้านกับผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งในแอพพลิเคชั่นจะมีฟังชั่นที่หลากหลายที่สามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคและคนรุ่นใหม่ และช่างพื้นบ้านให้สะดวกและสมบูรณ์ ในการสร้างสรรค์การออกแบบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้บริโภคเอง ตอบโจยก์ของการใช้งานของผู้บริโภคยุคใหม่ ด้วยฟีเจอร์ที่ทันสมัย และครอบคลุมการสร้างสรรค์การอกกแบบ พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหัตถกรรมบ้านดุง รองรับระบบปฎิบัติการทั้ง 2 ระบบ ซึ่งต้องใช้ เวอร์ชั่น 8 และ 5 ขึ้นไป โดยในแอพพลิเคชั่นมีการทางานหลัก ดังนี้ 1.แบบจาลองการออกแบบลวดลายผ้า กระเป๋า ผู้บริโภคสามารถทดลองการออกแบบลวดลายได้ด้วยตนเอง ผ่านการสร้างสรรค์ลักษณะการทอผ้า และการจักรสารลวดลาย โดยอ้างอิงจากตัวอย่างชุดสีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถจัดการลวดลายเป็นใบสั่งซื้อสินค้าได้ทันที นอกจากนี้ยีงมีต้นแบบลวดลายให้ผู้บริโภคเลือกใช้ถึง 18 แบบด้วยกัน 2.แบบจาลองผลิตภัณฑ์ การนาลวดลายที่ผู้บริโภคสามารถออกแบบได้เอง มาจาลองกับผลิตภัณฑ์ 3 มิติ ตัวอย่างสินค้าประเภท Life style และเฟอร์นิเจอร์หลากหลายรูปแบบ เพื่อแสดงภาพในระบบ 3 มิติ ก่อนที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้า 3. ข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าบ้านดุงรวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับสินค้าพื้นบ้านไว้อย่างครบครัน ประกอบด้วยข้อมูลผ้าทอ ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ผ้าย้อมคราม การทอ กระเป๋าสาน เทคนิคการขึ้นลายแต่ละประเภท และข้อกาหนดเกี่ยวกับสินค้าให้แก่ผู้บริโภค 4.ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการสินค้า แอพคลิเคชั่นได้รวบรวมรายชื่อผู้ผลิตสินค้าในกลุ่มบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เพื่อง่ายและสะดวกต่อการติดต่อของผู้บริโภค
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1337
Date: 2019-01-23


Files in this item

Files Size Format View Description
02Cover.pdf 59.01Kb PDF View/Open ปก
03Abstract-Thai.pdf 66.66Kb PDF View/Open บทคัดย่อ
04Abstract eng.pdf 50.19Kb PDF View/Open Abstract
05Acknowledgments.pdf 85.27Kb PDF View/Open กิติกรรมประกาศ
06Content.pdf 88.19Kb PDF View/Open สารบัญ
07Chapter1.pdf 280.9Kb PDF View/Open บทที่1
08Chapter2.pdf 2.005Mb PDF View/Open บทที่2
09Chapter3.pdf 306.3Kb PDF View/Open บทที่3
10chapter4.pdf 2.169Mb PDF View/Open บทที่4.1
11chapter4-2.pdf 341.0Kb PDF View/Open บทที่4.2
12chapter4-3.pdf 380.9Kb PDF View/Open บทที่4.3
13chapter5.pdf 879.9Kb PDF View/Open บทที่5
14บรรณานุกรม.pdf 106.8Kb PDF View/Open บรรณานุกรม
15ภาคผนวก.pdf 4.463Mb PDF View/Open ภาคผนวก
16ประวัติผู้วิจัย.pdf 118.6Kb PDF View/Open ประวัตินักวิจัย
บทความ.pdf 926.3Kb PDF View/Open บทความ

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account