Information Retrieval Systems of Research Institute at Saun Sunandha Rajabhat University >
งานวิจัยปีงบประมาณ 2561 >
งานวิจัยภาษาไทย >
แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1267
|
Title: | ผลของการฝึกไท้ซิและแอโรบิคต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ในผู้สูงอายุ Effects of Tai Chi and Aerobic Training on Muscle Strength and Balance in the Elderly People |
Authors: | กิตติโชติพาณิชย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญศรี สมันตเวคิน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดประนอม |
Keywords: | การฝึกไท้ซิร่วมกับแอโรบิค การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผู้สูงอายุ - |
Issue Date: | 9-Jan-2019 |
Series/Report no.: | งานวิจัยปี 2561;- |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental Research) เพื่อศึกษาผล
ของการออกกำลังกายของผู้สูงอายุด้วยการรำไท้ซิต่อการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เนื่องจากการหกล้มเป็นอุบัติเหตุสำคัญที่นำไปสู่การบาดเจ็บป่วยเรื้อรังและการตายของผู้สูงอายุ
การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลัง และการทรงตัวจะเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบโปรแกรม
การเสริมสร้างสุขภาพด้วยการรำไท้ซิต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ซึ๋งมีการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คนที่เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายรำไท้ซิเพิ่ม วันละ 45 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลาต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมคือผู้สูงอายุของชมรมที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างเดียว 33 คนที่ไม่ได้ฝึกฝนไท้ซิ ผลการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อหลัง และการทรงตัวด้วยการเดินต่อขาและระยะเวลาการยืนขาเดียว ก่อนเข้าโปรแกรม และสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ของโปรแกรม และทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มและความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์สถิติ paired t- test และ independent t- test
ผลการศึกษา พบว่าภายหลัง 8 สัปดาห์ กลุ่มที่มีการฝึกไท้ซิมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขากล้ามเนื้อหลัง และการทรงตัวดีขึ้นกว่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) หลังเข้าโปรแกรม กลุ่มฝึกไท้ซิและกลุ่มควบคุมมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อหลัง และการทรงตัวดีขึ้นกว่าก่อนการเข้าโปรแกรม (p <0.05)
สรุปผลการศึกษาว่า โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการรำไท้เก็ก 45 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลาต่อเนื่อง 8 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของขา-หลังและการทรงตัว
ในผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
Description: | งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1267 |
Appears in Collections: | แหล่งทุนภายใน ปีงบประมาณ 2561
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|