Title:
|
กระบวนการแต่งกายยืนเครื่องการแสดงโขนของกรมศิลปากร |
Author:
|
เนียมอุทัย, อรวัฒนา
|
Abstract:
|
การศึกษากระบวนการแต่งกายยืนเครื่องการแสดงโขนของกรมศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมาของเครื่องแต่งกายยืนเครื่องของการแสดงโขน กระบวนการแต่งเครื่องแต่งกายยืนเครื่องการแสดงโขนของกรมศิลปากร
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการออกภาพสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน
สรุปผลการวิจัยพบว่า
1. ความเป็นมาของเครื่องแต่งกายยืนเครื่องของการแสดงโขนของกรมศิลปากร การแสดงโขนเป็นการแสดงที่ประกอบไปด้วยศิลปะอันประณีต งดงาม และถือว่าเป็นแม่บทของบรรดานาฏกรรมไทยอื่น ๆ เพราะเป็นแบบฉบับอันดีที่ได้สืบทอดกันมานาน การพัฒนาเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงโขนเป็นเครื่องแต่งกายยืนเครื่องตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง เป็นเครื่องแต่งกายที่มีรูปแบบและลักษณะที่เลียนแบบมาจากเครื่องต้น อันเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ โดยในสมัยนั้นสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการแสดงโขนและละครไทย และมีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการแสดงโขนของกรมศิลปากรได้รับสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งเป็นกรมมหรสพ รูปแบบและลักษณะเครื่องแต่งกายยังคงเป็นแบบเดิม โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ศิราภรณ์ เป็นเครื่องประดับที่ใช้สำหรับสวมศีรษะ เช่น ชฎา มงกุฎ ศีรษะโขนยักษ์และลิง เป็นต้น ถนิมพิมพาภรณ์ เป็นเครื่องประดับกาย เช่น ทับทรวง สังวาลย์ เข็มขัด ข้อมือ เป็นต้น และพัสตราภรณ์ เป็นเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยผ้า เช่น เสื้อ รัดสะเอว ห้อยหน้า ห้อยข้าง กรองคอ เป็นต้น นอกจากนั้น เครื่องแต่งกายโขนของกรมศิลปากร มีวิวัฒนาการไปตามสภาพของสังคม แต่ความเป็นเอกลักษณ์ของมาตรฐานด้านการแสดงก็ยังดำรงไว้ซึ่งความเป็นศิลปะประจำชาติไทย
2. วิธีการแต่งเครื่องแต่งกาย มีขั้นตอนดังนี้ การเตรียมความพร้อม เรื่อง ชุดที่จะแต่งให้ครบถ้วนทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแต่งกายได้แก่ ด้ายเย็บผ้าเบอร์ 8 เข็มเย็บผ้าก้นทองขนาด 2 นิ้ว มีด กรรไกร ผ้ารัดเอว ผ้าดิบรัดเอวกว้าง 5 นิ้ว ยาว 1.5 เมตร หนังยาง ส่วนวิธีการแต่งตัวพระ นุ่งผ้าพระจะมี 2 แบบ นุ่งจีบโจงแบบหางหงส์และนุ่งจีบโจงแบบก้นแป้น สำหรับการ นุ่งโจงแบบก้นแป้นจะใช้กับตัวละครที่เป็นยักษ์และลิง การแต่งเครื่องแต่งกายยืนเครื่องเริ่มจากการใส่ข้อเท้า สนับเพลา ผ้าพอก นุ่งผ้าพับสนันเพลา ใส่ห้อยหน้า สวมเสื้อหรือฉลององค์ กรองคอ รัดสะเอว ใส่ห้อยหน้าและสวมเครื่องประดับ ได้แก่ เข็มขัด ทับทรวง สังวาล กำไลข้อมือ จากนั้น สวมเครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ ชฎา การแต่งกายตัวนางจะเริ่มต้นจาก สวมข้อเท้า ใส่เสื้อในนาง ผ้าห่มนาง นุ่งผ้าหน้านางจีบกว้าง 1.5 นิ้ว ใส่นวมนาง จากนั้น รัดเข็มขัด จี้นาง ปะวะหล่ำ กำไลแผง แหวนรอบและสวมเครื่องประดับศีรษะ ได้แก่ มงกุฏนางนาง ผู้แต่งต้องมีความชำนาญในการแต่งเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้แสดงสามารถรำได้อย่างสะดวกสบายและสวยงาม
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับเครื่องละครที่เป็นกระบวนการเย็บเครื่องแต่งกาย ให้มีการสืบทอดและอนุรักษ์ของเดิมไว้
2. ควรหาทางในการเผยแพร่กระบวนการเย็บเครื่องแต่งกายยืนเครื่องให้คงอยู่และมีคุณค่าทางศิลปะ
3. ควรมีการศึกษาวิจัย เรื่อง การเย็บเครื่องแต่งกายในการแสดงอื่น ๆ เช่น ระบำเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นองค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นมาตฐาน มีความแม่นยำชัดเจน ต่อผู้สนใจรุ่นหลังสามารถค้นคว้าข้อมูลและนำไปปฏิบัติได้จริง
เป็นต้น สรุปได้ว่า การเย็บเครื่องละครทั้งตัวพระและตัว |
Description:
|
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/1004
|
Date:
|
2018-11-22 |