dc.contributor.author |
ริมดุสิต, สุจิตรา |
|
dc.date.accessioned |
2018-12-04T07:21:39Z |
|
dc.date.available |
2018-12-04T07:21:39Z |
|
dc.date.issued |
2018-12-04 |
|
dc.identifier.uri |
http://hdl.handle.net/123456789/1126 |
|
dc.description |
งานวิจัยงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัยปีงบประมาณ 2561
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.description.abstract |
จากการศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับกิจกรรมในการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเป็นชาย อายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง15-25 ปี ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะเป็นนักศึกษา รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่ต่ำกว่า 10,000 บาท การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี
ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกับกิจกรรมในการท่องเที่ยวเชิงอาหาร พบว่า ระยะเวลาที่นักท่องเที่ยวใช้สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยว 1-2 วันต่อครั้ง และมีวัตถุประสงค์เพื่อเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางเพื่อการพักผ่อน ซึ่งนักท่องเที่ยวเลือกรับประทานอาหารไทยภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ โดยนักท่องเที่ยวจะรับประทานอาหารไทยทุกครั้งเมื่อเดินทางท่องเที่ยว เหตุผลที่นักท่องเที่ยวเลือกรับประทานอาหารไทยเพราะรสชาติของอาหารไทย นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังเสียค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารไทยต่อมื้อน้อยกว่า 100 บาท ทางด้านช่วงเวลาในการเลือกรับประทานส่วนใหญ่เป็นมื้อกลางวัน สำหรับกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวเลือกกระทำในการท่องเที่ยวเชิงอาหารคือ การชิมอาหารไทย
แนวทางในการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร คือการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ควรจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้มีระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน อีกทั้งควรจัดให้มีการได้ชิมอาหารไทยที่มีรสชาติอร่อยตามแหล่งภูมิภาคของอาหารไทย โดยจัดไว้ในช่วงมื้ออาหารกลางวัน สำหรับในส่วนของร้านอาหารที่จะเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารก็ควรที่จะมีการจัดตกแต่งร้านให้มีบรรยากาศที่ดี ราคาอาหารควรมีราคาที่เหมาะสมกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ ไม่ควรแพงเกินไป รวมถึงร้านอาหารควรมีจุด
บริการที่จะให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองทำอาหารรับประทานเองสำหรับบางรายการอาหาร เช่น ส้มตำ โดยควรที่จะเลือกให้ทำอาหารในมื้อกลางวัน นอกจากนี้บริษัทนำเที่ยวที่ให้บริการจัดรายการท่องเที่ยวเชิงอาหารควรที่จะนำเสนอให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมทำกิจกรรมเกี่ยวกับอาหาร |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.relation.ispartofseries |
งานวิจัยปี 2561; |
|
dc.subject |
พฤติกรรม, อาหารไทย, การท่องเที่ยว, แนวทางการพัฒนา |
th_TH |
dc.title |
พฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับกิจกรรมในการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร |
th_TH |
dc.type |
Article |
th_TH |