การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนแบบมีส่วนร่วม ของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

DSpace/Manakin Repository

การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนแบบมีส่วนร่วม ของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

Show full item record

Title: การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนแบบมีส่วนร่วม ของกลุ่ม OTOP บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
Author: ธาราสวัสดิ์, รศ.ชัยศรี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะวิถีชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้ามัดย้อมเพื่อค้นหาขั้นตอนการผลิตและผลกระทบที่มีต่อวิถีชีวิตของชุมชนกลุ่มผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้ามัดย้อมที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและมัดย้อม และเป็นการพัฒนาทดลองการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตการทำผ้ามัดย้อม ประชากรมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 15 คน เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น ผู้วิจัยใช้การประชุมกลุ่มและสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างผู้ทำอาชีพเสื้อผ้าสำเร็จรูปและมัดย้อมเพื่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยอันจะนำไปสู่ความต้องการสร้างเครื่องบำบัดน้ำเสีย เครื่องมือที่ใช้แบ่งออกเป็น 4 ตอน ประกอบไปด้วย ตอนที่ 1 วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตอนที่ 2 ลักษณะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจใช้เครื่องบำบัดน้ำเสีย ตอนที่ 3 ประเมินและเปรียบเทียบน้ำเสียก่อนและหลังการบำบัด ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยใช้การประชุมกลุ่มย่อย Focus Group และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – depth - Interview) โดยมีแนวคำถามในการเข้าไปสัมภาษณ์ตามที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้า (Interview Guide) ทั้งนี้เพื่อจะได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ครบถ้วน และตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่งมีประเด็นในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบเครื่องบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ นอกจากนี้ยังรวมถึงการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเพื่อไปสู่ความต้องการสร้างเครื่องบำบัดน้ำเสียผลการวิจัยพบว่า ส่วนความเหมาะสมของวัสดุ พบว่า ผ้าที่จะใช้ทำผ้ามัดย้อมควรใช้ผ้าสีขาวหรือผ้าสีอ่อนผ้าที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดเป็นผ้าที่ผ่านการตกแต่งมาก่อนเพื่อให้ผ้าแข็งอยู่ตัวและเป็นเงาเรียบ ผู้ผลิตจะแต่งและอาบผ้าด้วยสารเรซีน หรือแป้งใช้เป็นส่วนมาก สารตัวนี้นับว่าเป็นอุปสรรคต่อการแทรกซึม ของน้ำสี ฉะนั้นก่อนจะลงมือย้อมสีควรขจัดสิ่งเหล่านี้ออกให้หมดเสียก่อน แต่ถ้ามีสารอาบผิวใส่จำนวนน้อยอาจทำความสะอาดได้ โดยการซักน้ำผงซักฟอกได้ แต่ถ้ามีสารเคมีอาบผิวใช้มาก จะต้อง ขจัดออกด้วยสารเคมีบางตัวให้นำผ้าไปต้มกับสารต่อไปนี้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น CAUSTIC SODA ชนิดเกล็ด 1 กรัม / น้ำ 1 ลิตรหรือSODAASH (โซดาแอซ ) 1 กรัม / น้ำ 1 ลิตร หรือ WETTING AGENT ( สบู่เทียม ) ที่ 100 องศาเซลเซียสในเวลา 30 นาทีนำไปซักในน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วนำไปผึ่งให้แห้งเพื่อเตรียมผ้าไปมัดย้อมต่อไป ด้านลักษณะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการใช้เครื่องบำบัดน้ำเสีย ส่วนที่1ขั้นตอนการผลิตกรรมวิธีการทำผ้ามัดย้อม มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การตัดผ้าขาวที่สั่งซื้อมาตามแบบที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการตัดเย็บเสื้อผ้า ขั้นตอนที่ 3 นำผ้าที่ตัดเย็บเสร็จพร้อมที่จะย้อมไปปั่นหมาดเพื่อให้นิ่มจับทรงง่าย ขั้นตอนที่ 4 การมัดลวดลายตามสีสันตามต้องการ ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการย้อมสี แบ่งเป็นขั้นตอนย่อยดังนี้ 5.1 การจุ่มสี 5.2 การแช่คลอรีน 5.3 การล้างสี 5.4 การแช่น้ำยากันตก 5.5 การปั่นหมาดและใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มนำไปตากแดดให้แห้ง / รีด /บรรจุหีบห่อ หรือแขวนจำหน่าย / จัดส่งลูกค้า สภาพปัญหาของการผลิตและผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมพบว่า เนื่องจากสภาพแหล่งผลิตตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน ซึ่งมีบ้านเรือนของประชากรในชุมชนอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่น ดังนั้น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับชุมชนจึงเกิดขึ้น ดังนี้ 1. ปัญหาสารเคมีที่ตกค้างในน้ำเนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้สีเคมีในการย้อมผ้าซึ่งแน่นอนว่าน้ำที่ปล่อยทิ้งยังไม่ผ่านกระบวนการบำบัดต้องมีสารตกค้างออกไปสู่สาธารณะอย่างแน่นอนซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อจะแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการในการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตก่อนทิ้งลงสู่ลำธารสาธารณะ โดยการจัดทำเครื่องบำบัดน้ำเสียและติดตั้งเป็นการถาวร 2. ปัญหาต่อสุขภาพอนามัยของกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงอันเกิดจากกระบวนการบำบัดแบบเดิมซึ่งต้องอาศัยการจับต้องสารเคมีเพื่อแยกเป็นถัง ใส่คลอรีน เพื่อให้ตกตะกอนและเททิ้ง หรือตลอดจนกระทั่งการตักตะกอนสารเคมีหรือผงสีออกจากก้นถัง ก็ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่สัมผัส หากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ ในการออกแบบและสร้างเครื่องบำบัดน้ำเสีย จำเป็นต้องพิจารณาถึงรูปแบบการใช้งานและกำหนดขนาดชิ้นส่วนต่างๆเพื่อให้สัมพันธ์กับสภาพพื้นที่ของผู้ใช้งาน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุเพื่อให้ได้กระบวนการการบำบัดน้ำเสียที่ถูกต้องตามหลักการและทฤษฎีเพื่อให้ผลของน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วมีคุณภาพภาพพร้อมทิ้งสู่ชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 9.1 รูปแบบและโครงสร้างจะต้องมีน้ำหนักเบา มีขนาดความจุน้ำได้ 250 ลิตร 9.2 ปริมาณความจุที่พอดีกับปริมาณการใช้ในแต่ละรอบการทำงาน 9.3 มีความแข็งแรงทนทาน 9.4 บำบัดน้ำให้มีคุณภาพได้ 9.5 ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เป็นวัสดุทดแทนหรือรีไซเคิล จากผลการวิจัยพบว่า น้ำทิ้งก่อนเข้าระบบบำบัดมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 6.97 บีโอดีอยู่ระหว่าง 110 มก./ล ปริมาณ ซีโอดีทั้งหมด อยู่ระหว่าง 929 มก./ล และปริมาณสารตะกั่วอยู่ที่ 0.32 มก./ล และปริมาณสารปรอทอยู่ที่ 0.0005 มก./ล สำหรับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งที่หลังผ่านเข้าระบบบำบัดน้ำทิ้ง พบว่าค่า พีเอชอยู่ที่ 4.22 บีโอดีอยู่ที่ 21 มก./ล ปริมาณ ซีโอดีทั้งหมด อยู่ระหว่าง 330 มก./ล และปริมาณสารตะกั่วอยู่ที่ 0.13 มก./ล และปริมาณสารปรอทอยู่ที่ 0.0005 มก./ล เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำทิ้งก่อนเข้าระบบบำบัดกับน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดพบว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดจะมีคุณภาพน้ำดีขึ้นผ่านเกณฑ์มาตรฐานอ้างอิงตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2539 เรื่องกำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน และผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่สามารถปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Description: งานวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
URI: http://hdl.handle.net/123456789/553
Date: 2018-09-20


Files in this item

Files Size Format View Description
00 ปกนอก.doc 48.5Kb Microsoft Word View/Open ปก
01 ปกใน.doc 31Kb Microsoft Word View/Open ปกใน
02 บทคัดย่อ (ก-ข).doc 54.5Kb Microsoft Word View/Open บทคัดย่อ
04 กิตติกรรม (ง).doc 43.5Kb Microsoft Word View/Open กิตกรรมประกาศ
05 สารบัญ (จ-ฉ).doc 56.5Kb Microsoft Word View/Open สารบัญ
06 สารบัญภาพ (ช).doc 42.5Kb Microsoft Word View/Open สารบัญภาพ
07 สารบัญตาราง (ญ).doc 39Kb Microsoft Word View/Open สารบัญตาราง
09 บทที่ 1 บทนำ (1-5).DOC 67Kb Microsoft Word View/Open บทที่1
10 บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (6-26).doc 363Kb Microsoft Word View/Open บทที่2
11 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย (27 - 39 ).doc 91Kb Microsoft Word View/Open บทที่3
12 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 40 - 47.doc 93Kb Microsoft Word View/Open บทที่4
13 บทที่ 5 สรุปการวิจัย (48 - 56 ).doc 103Kb Microsoft Word View/Open บทที่5
14บรรณานุกรม (57 - 59).doc 47.5Kb Microsoft Word View/Open บรรณานุกรม
15 ภาคผนวก (60).doc 27Kb Microsoft Word View/Open ภาคผนวก
18.รูปวัสดุที่ใช้ในการสร้าง (66 -70) - Copy.doc 1.786Mb Microsoft Word View/Open ภาคผนวก ข
19 ภาคผนวก ค เ ... ใช้ในการสร้าง (71 -76).doc 2.293Mb Microsoft Word View/Open ภาคผนวก ค
20 ภาคผนวก ง รูปขั้นตอนการสร้าง (77-82).doc 2.124Mb Microsoft Word View/Open ภาคผนวก ง
22 ภาคผนวก ฉ รู ... บำบัดแบบใหม่ (90 -92 ).DOC 186Kb Microsoft Word View/Open ภาคผนวก ฉ
28 ภาคผนวก ช ร ... นไปลงพื้นที่ (93 -96 ).doc 2.009Mb Microsoft Word View/Open ภาคผนวก ช
29.ภาคผนวก ซ ประวัติผู้วิจัย 97 -103 ).docx 28.80Kb Microsoft Word 2007 View/Open ประวัตินักวิจัย

This item appears in the following Collection(s)

Show full item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account